ในบทความนี้พูดเรื่อง พัฒนาการ เด็ก 9 เดือน ในด้านต่าง ๆ ของลูกวัยน้อยและการกระตุ้น พร้อมแนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เช่น ของเล่น เมนูอาหารทารก 9-10 เดือน ลูกต้องกินข้าวกี่มื้อ วิธีเลี้ยงลูกและรับมือเมื่อเด็กเอาแต่ใจ หรือ ยังไม่คลาน
ซึ่งเด็กในวัยนี้จะต้องใส่เป็นพิเศษในเรื่องของพื้นที่ในการเคลื่อนไหวของเด็ก เนื่องจากเด็กในวัยนี้จะสนุกกับการได้คลานหรือเดินไปรอบๆ
ดังนั้นเราจึงควรจัดการสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่เขาเคลื่อนไหว เช่น ปลั๊กไฟ ของมีคม สิ่งของที่สามารถแตกหักได้หรือเหลี่ยม มุม ของเครื่องใช้ต่างๆ ให้พ้นจากมือหรือรัศมีในการเคลื่อนไหวของเขาให้ดี
ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
รอบรู้เรื่อง พัฒนาการ เด็ก 9 เดือน ที่คุณแม่ต้องรู้
รอบรู้เรื่อง พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ที่คุณแม่ต้องรู้คือ เด็กในวัยนี้จะเริ่มจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งเสียงที่ได้ยิน บุคคลในครอบครัว หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ดังนั้นการส่งเสริมให้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เขามีสุขภาพจิตที่ดีและส่งผลให้พัฒนาการทางสมองของเขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
พัฒนาการ 9 เดือน ด้านร่างกาย
พัฒนาการลูก 9 เดือน ด้านร่างกาย คือ เด็กวัยนี้จะมีกระดูกและกล้ามเนื้อที่เริ่มแข็งแรงขึ้น ส่งผลให้เขาสามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง คลานได้เร็วขึ้น จนไปถึงเริ่มเกาะสิ่งของยืนและเริ่มเดินด้วยตัวเอง สิ่งที่เราควรส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กในวัยนี้คือ การดูแลอาหารที่เขากินให้เขาได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และจัดพื้นที่ในการเคลื่อนไหวของเขาให้เหมาะสม เพราะเมื่อทารกมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะแก่การเรียนรู้ เด็กจะมีพัฒนาการด้านร่างกายที่เป็นไปตามเกณฑ์อย่างแน่นอน
พัฒนาการลูก9เดือน ด้านสังคม
พัฒนาการลูก9เดือน ด้านสังคม คือ เด็กวัยนี้จะเริ่มจดจำบุคคลรอบตัว เช่นคนในครอบครัวหรือบุคคลที่เขาพบเห็นบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคมของเด็กวัย 9 เดือนจึงควรพาเขาออกไปพบผู้คนนอกบ้านบ้าง ให้เด็กได้อยู่ในสถานะการณ์ที่มีคนอื่นอยู่ด้วยเยอะๆ จะช่วยให้เด็กไม่กลัวคนแปลกหน้า และกล้าที่จะไปในสถานที่ใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งการพาเขาออกจากบ้านบ่อยๆ จะส่งผลดีต่อตัวเด็กในเวลาที่เขาต้องเข้าโรงเรียนในอนาคต
พัฒนาการทารก เดือนที่ 9 ด้านอารมณ์ จิตใจ
พัฒนาการทารก เดือนที่ 9 ด้านอารมณ์ จิตใจ คือการเรียนรู้อารมณ์ของคนรอบตัว เช่น การหัวเราะเมื่ออารมณ์ดี หรือการร้องไห้เมื่อเสียใจ เด็กในวัยนี้จะยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ เมื่อเขารู้สึกขัดใจหรือทำอะไรไม่ได้ตามต้องการจึงแสดงออกด้วยการร้องไห้โวยวาย ดังนั้นเราจึงควรให้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพราะเมื่อเด็กมีสุขภาพจิตดีจะส่งผลให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเขาดียิ่งขึ้นไปด้วย
พัฒนาการของเด็ก 9เดือน ด้านภาษา
พัฒนาการของเด็ก 9เดือน ด้านภาษา คือ เด็กในวัยนี้จะเริ่มพูดความต้องการออกมาเป็นคำสั้นๆ เช่น พ่อ แม่ หม่ำ หรืออาจจะเป็นคำที่เราใช้พูดกับเขาบ่อยๆ เด็กจะเริ่มจดจำแล้วพูดตาม ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กในวัยนี้ควรเริ่มจากการพูดคุยกับเขาบ่อยๆ หรือใช้หนังสือภาพสัตว์และนิทานต่างๆ มาเล่าให้เขาฟังเพื่อให้เขาได้จดจำคำพูดใหม่ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
พัฒนาการเด็กวัย 9เดือน ด้านสมอง
พัฒนาการเด็กวัย 9เดือน ด้านสมอง คือ เด็กในวัยนี้จะชอบมองตามสิ่งของที่สามารถเคลื่อนที่ได้ หรือสิ่งของที่มีเสียงดึงดูดความสนใจ ชอบมองหาของที่เคยมีอยู่แล้วหายไป และเด็กในวัยนี้จะชอบหยิบของเข้าปากด้วยนิ้วมือเป็นอย่างมาก เราจึงควรใส่ใจเรื่องความสะอาดของของเล่น หรือสิ่งของที่เด็กจะสามารถหยิบเข้าปากแล้วก่อให้เกิดอันตราย ไม่ให้เขาหยิบของเหล่านี้มาเล่นจนอาจทำให้เขาเจ็บตัวได้
พัฒนาการลูกน้อยวัย 9เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ
พัฒนาการลูกน้อยวัย 9เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ คือ การทานอาหารอื่นๆ นอกจากนมได้เยอะขึ้นและจะอิ่มนานขึ้น เด็ก 9 เดือนบางคนจะเริ่มมีฟันน้ำนมงอกขึ้นแล้ว ดังนั้นอาหารที่จัดให้เขาทานจึงควรมีเนื้อสัมผัสพอหยาบเพื่อให้เขาฝึกพัฒนาการด้านการบดเขี้ยว และเราสามารถฝึกให้เขาทานผักที่มีกลิ่นฉุนบางอย่างได้เช่น ต้นหอม ผักชี กระเทียม เป็นต้น เพื่อให้เขาทานอาหารได้หลากหลายและคุ้นเคยกับรสชาติอาหารที่แตกต่างกันยิ่งขึ้น
หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในเด็ก9เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : คู่มือแก้ปัญหาจาก พัฒนาการทารก9เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่!!
การกระตุ้นพัฒนาการทารก9เดือน ควรทำยังไง?
การกระตุ้นฝึกพัฒนาการทารก9เดือน สามารถทำได้หลากหลายวิธี เริ่มต้นจากการพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ เปิดเพลงที่มีส่วนช่วยในการเสริมพัฒนาการเด็กให้เขาฟัง พาเขาออกไปพบเจอบรรยากาศนอกบ้านบ่อยๆ เพื่อให้เขาเรียนรู้การเข้าสังคมและไม่กลัวคนแปลกหน้า หรือจะใช้ของเล่นเสริมพัฒนาการเพื่อเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของเขาร่วมด้วยก็ได้ จะทำให้เด็กๆ มีความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
20 ของเล่นเด็ก 9 เดือน ชนิดไหนดีต่อการเสริมพัฒนาการลูกน้อย?
ของเล่นเด็ก 9 เดือน ควรเป็นของเล่นที่ไม่มีเหลี่ยมมุมแหลมคม หรือเป็นของที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยได้ ควรเป็นของที่มีสีสันสดใสสะดุดตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นของเล่นที่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหรือไรฝุ่น เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพของเขาได้ ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 9 เดือนที่แนะนำคือ
- สมุดผ้ารูปสัตว์หรือสิ่งของต่างๆ
- หนังสือนิทานลอยน้ำ
- ถุงนิ้ม/ถุงมือรูปตัวการ์ตูนหรือรูปสัตว์ต่างๆ
- โมบายแขวนหมุนได้และมีเสียงดนตรี
- กล่องดนตรี
- กล่องจ๊ะเอ๋หรือกล่องเซอร์ไพรส์
- กล่องเสริมพัฒนาการแบบนั่งเล่น
- กล่องสไลด์เดอร์ลูกบอลยาง
- เปียโนสำหรับเด็กที่กดแล้วมีเสียง
- ไซโลโฟนสำหรับเด็ก
- ชุดกลองสำหรับเจ้าหนูน้อย
- โทรศัพท์สำหรับเด็กที่กดแล้วมีเสียงหลากหลายเสียง
- บล็อกตัวต่อหรือเลโก้สำหรับเด็ก
- ห่วงสวมหลัก
- ลูกบอลผ้าหรือลูกบอลยาง
- ตุ๊กตาไขลาน
- รถเข็นฝึกเดิน
- ตุ๊กตายางที่บีบแล้วมีเสียง
- ป๊อปอิท
- ยางกัด
เมนู อาหารทารก 9-10 เดือน สำหรับพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
เมนู อาหารทารก 9-10 เดือน ที่เด็กในวัยนี้ควรทาน คือ อาหารที่มีรสชาติหลากหลาย และมีคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่ อาหารที่เด็กในวัยนี้ทานได้ควรมีเนื้อสัมผัสพอหยาบเพื่อให้เขาฝึกทักษะการบดเคี้ยวอาหารด้วยตัวเอง และเป็นอาหารที่เขาสามารถหยิบทานได้ด้วยตัวเอง
เพื่อให้เขาฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ รวมไปถึงการฝึกพัฒนาการทางด้านสมองในส่วนของการควบคุมการทำงานของร่างกายของเขาให้ดีขึ้นได้อีกด้วย เราขอแนะนำ อาหารทารก 9-10 เดือน เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ดังนี้
1. ข้าวผัดมะเขือเทศเสริมด้วยไข่เจียวแฮม
วัตถุดิบ
- ข้าวสวยหุงสุก
- มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- ไข่ไก่
- แฮมหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- หอมหัวใหญ่ซอยละเอียดหรือกระเทียมสับละเอียด
- ต้นหอมซอย
วิธีทำ
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง
- เจียวหอมใหญ่/กระเทียมให้มีกลิ่นหอม
- ใส่มะเขือเทศ ไข่ไก่ และแฮมที่เตรียมไว้
- ผัดจนส่วนผสมเข้ากันแล้วใส่ข้าวสวยที่เตรียมไว้
- ปิดเตาแล้วโรยด้วยต้นหอมซอย
2. โจ๊กข้าวโพดหวานกับปลาทอด
วัตถุดิบ
- ข้าวโพดหวานต้มสุกปั่นละเอียด
- ต้นหอมซอย
- เนื้อปลาทอดเลาะก้างออก
วิธีทำ
- ตั้งหม้อน้ำซุปด้วยไฟกลาง
- ใส่ข้าวโพดหวานที่เตรียมไว้ลงไป
- ปรุงรสด้วยเกลือป่นเล็กน้อย คนจนข้าวโพดและน้ำซุปเข้ากันเป็นเนื้อโจ๊ก
- ปิดเตา ตักใส่ถ้วย
- แล้วโรยด้วยเนื้อปลาทอดที่แกะก้างออกหมดแล้วและต้นหอมซอย
3. ข้าวตุ๋นฟักทองกับอกไก่สับ
วัตถุดิบ
- ข้าวสวยหุงสุก
- ฟักทองต้มสุกปลอกเปลือกและบดละเอียด
- ไข่ไก่
- เนื้ออกไก่สับหยาบ
- ต้นหอมซอย
วิธีทำ
- ตั้งหม้อน้ำซุปด้วยไฟกลาง
- ใส่ฟักทองต้มสุกที่เตรียมไว้ลงไป
- เมื่อน้ำเดือดใส่ไข่ไก่ที่ชงไว้แล้วลงไป ตามด้วยเนื้ออกไก่
- เมื่อเนื้อไก่สุกใส่ข้าวสวยที่เตรียมไว้ลงไป
- คนจนน้ำซุปแห้งลงแล้วปิดเตา
- โรยหน้าด้วยต้นหอมซอย
4. ข้าวต้มปลาอินทรี
วัตถุดิบ
- ข้าวสวยหุงสุก
- เนื้อปลาอินทรีแกะก้าง
- ต้นหอมซอย
วิธีทำ
- ตั้งหม้อน้ำซุปด้วยไฟแรง
- เมื่อน้ำเดือดใส่เนื้อปลาอินทรที่เตรียมไว้ลงไป ไม่ต้องคนปิดฝาหม้อแล้วรอจนเนื้อปลาสุก
- ใส่ข้าวสวยที่เตรียมไว้ลงไป
- ปรุงรส คนให้เข้ากันแล้วปิดเตา
- โรยหน้าด้วยต้นหอมซอย
5. สเต็กปลาแซลมอน
วัตถุดิบ
- เนื้อปลาแซลมอน
- ฟักทองปลอกเปลือกหั่นเป็นแท่ง
- แครอทหั่นเป็นแท่ง
- บล็อกโคลี่หั่นเป็นชิ้นพอดีมือให้เด็กจับได้
- น้ำมันมะกอก/น้ำมันพืช
วิธีทำ
- นำผักสามสีที่หั่นเตรียมไปนึ่งหรือต้มจนสุกแล้วพักไว้
- ตั้งกระทะด้วยไฟกลางแล้วทาน้ำมันมะกอกให้ทั่ว
- เมื่อกระทะเริ่มร้อน นำเนื้อปลาแซลมอนที่เตรียมไว้มาย่างในกระทะให้สุกจนทั่ว
- แล้วโรยเกลือป่นเล็กน้อย
- เสิร์ฟคู่กับผักนึ่งที่เตรียมเอาไว้
6. คุกกี้ธัญพืชสูตรนุ่ม
วัตถุดิบ
- เมล็ดธัญพืชบดหยาบ
- เนยหวาน
- แป้งสาลีอเนกประสงค์ หรือแป้งสำหรับทำคุกกี้
- ผงฟู
- ไข่ไก่
- นมจืด
วิธีทำ
- ผสมไข่ไก่ เนยหวาน ผงฟู และแป้งสาลีเข้าด้วยกัน ตีส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
- เติมนมจืดเล็กน้อย แล้วตีแป้งคุกกี้อีกครั้งให้เป็นเนื้อเดียวกัน ต้องระวังไม่ให้แป้งแข็งหรืออ่อนจนเกินไป
- เมื่อแป้งคุกกี้ได้ที่แล้ว ใส่เมล็ดธัญพืชที่เตรียมไว้ลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
- เมื่อส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันแล้ว พักแป้งไว้ 10 นาที
- นำแป้งที่ได้ที่แล้วจัดลงในถาด ให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
- นำคุกกี้ในถาดเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศา ใช้เวลา 12 – 15 นาที
- เมื่อครบเวลาพักคุกกี้ไว้บนเตาประมาณ 5 นาที แล้วจึงนำออกมาพักด้านนอกให้หายร้อน
7. มันฝรั่งอบชีส เมนูเพิ่มน้ำหนัก
วัตถุดิบ
- มันฝรั่ง
- มอสซาเรลล่าชีส
- เนย
- น้ำมันพืช/น้ำมันมะกอก
- ออริกาโน่
วิธีทำ
- ปลอกเปลือกมันฝรั่งออกแล้วล้างมันฝรั่งให้สะอาดแล้วหั่นครั่งตามแนวยาว
- ใช้น้ำมันพืชหรือน้ำมันมะกอกทาให้ทั่วหัวมันฝรั่ง
- ห่อมันฝรั่งด้วยฟอยล์ก่อนนำเข้าเตาอบด้วยอุณหภูมิ 180 องศา ใช้เวลา 15 นาที
- นำมันฝรั่งที่อบแล้วออกจากเตา ใช้ช้อนส้อมขูดเนื้อมันฝรั่งตรงกลางให้ละเอียด
- ใส่เนยลงไปคลุกกับเนื้อมันฝรั่งที่ถูกขูดจนเข้ากัน
- โรยชีสตรงส่วนเนื้อมันฝรั่งที่คลุกกับเนยแล้ว และโรยออริกาโน่บนชีสอีกครั้ง
- นำไปอบในเตาอีกครั้งที่อุณหภูมิ 170 องศา ใช้เวลา 5 นาที
8. น้ำผลไม้รวมเสริมภูมิคุ้มกัน
วัตถุดิบ
- สตอวเบอรี่
- บูลเบอรี่
- กีวี่
- น้ำเชื่อม
- น้ำแข็งทำเอง 2 - 3 ก้อน
วิธีทำ
- ล้างผลไม้ที่เตรียมไว้ด้วยน้ำสะอาด
- จะแยกเป็นน้ำผลไม้แต่ละประเภทหรือปั่นรวมกันก็ได้พร้อมกับน้ำเชื่อม
- ใส่แก้วพร้อมน้ำแข็งเล็กน้อยเพิ่มความสดชื่น
9. ขนมถั่วกวน
วัตถุดิบ
- ถั่วเขียวกะเทาะเปลือกต้มสุกและบดจนละเอียด
- เนยหวาน
- นมจืด
- เมล็ดงาขาว
วิธีทำ
- นำนมจืดใส่หม้อตั้งไฟกลาง
- ใส่เนยหวานลงไป คนจนเนยและนมจืดเข้ากัน
- เมื่อนมเดือดแล้วใส่ถั่วเขียวบดละเอียดลงไป
- คนให้เข้ากันจนได้น้ำซุปเหนียวข้น
- ปิดเตาแล้วโรยด้วยเมล็ดงา
10. ผลไม้สุกหั่นชิ้นเล็ก
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนูลูกรักวัย9เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูกอย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำ เมนูลูกรักวัย9เดือน ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
เด็ก 9 เดือนกินข้าวกี่มื้อ ?
สำหรับคำถามว่า เด็ก 9 เดือนกินข้าวกี่มื้อ นั้น โดยมาตรฐานแล้วเราจะให้ทานข้าววันละ 2 มื้อ ซึ่งเป็นมื้ออาหารที่จัดให้เขาทานเสริมจากนมที่เขาทานเป็นมื้อหลัก โดยแบ่งตามคำแนะนำของนักโภชนาการได้ดังนี้
มื้อเช้า
ข้าวสวยบดหยาบ 4 ช้อนทานข้าว+เนื้อสัตว์ปรุงสุกบดหยาบ หรือไข่ต้ม 1 ฟอง+ผักใบเขียวหรือผักสามสีปรุงสุก
มื้อบ่าย
ผลไม้สุกหั่นชิ้นเล็กๆ 3 – 4 ชิ้น หรือ ของว่างสำหรับเด็กที่เขาสามารถถือทานเองได้ 2 – 3 ชิ้น
ลูก 9 เดือนยังไม่คลาน ปกติไหม? ทำยังไงดี?
ลูก 9 เดือนยังไม่คลาน ไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด เพราะในเด็กบางคนอาจข้ามขั้นจากการคลานไปเป็นเกาะยืนและเริ่มหัดเดินได้เลย ดังนั้นเราควรสั่งเกตุว่าที่ทารกไม่ยอมคลานอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการบาดเจ็บ
โดยสังเกตจากพฤติกรรมที่เขาไม่ยอมคลาน เช่น เด็กไม่สามารถคว่ำตัวได้เอง ไม่สามารถตั้งคอได้เป็นเวลานาน หรือเด็กร้องไห้งอแงทุกครั้งที่จะเริ่มคลาน
ซึ่งหากลูกมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพราะนั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามวัย
ลูก 9 เดือน เอาแต่ใจ รับมือยังไงดี?
ลูก 9 เดือน เอาแต่ใจ รับมือได้ไม่ยาก เด็กในวัยนี้จะแสดงนิสัยเอาแต่ใจเพราะเขาไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ตามที่คิด ดังนั้นจึงแสดงพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจโดยการกรีดร้อง หรือร้องไห้เสียงดัง
เมื่อลูกน้อยมีอาการเหล่านั้น เราควรจะนิ่งก่อน บอกเขาด้วยคำสั้นๆ ที่เข้าใจง่าย เช่น ไม่ หยุด หรืออย่า เพื่อเป็นการห้ามไม่ให้เขาร้องไห้โวยวาย เมื่อเด็กสงบลงสามารถกอดปลอบและอธิบายกับเขาอย่างใจเย็นได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจและสื่อสารอย่างใจเย็นขึ้นในครั้งต่อไป
วิธี เลี้ยงลูก 9 เดือน
วิธี เลี้ยงลูก 9 เดือน ให้เป็นเด็กที่อารมณ์ดีและร่าเริง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือสภาพแวดล้อม เพราะพฤติกรรมของคนรอบจะเป็นแบบอย่างที่เด็กในวัยนี้เริ่มจดจำ ดังนั้นหากอยากให้ลูกน้อยเป็นเด็กที่สดใสและร่าเริงต้องเริ่มจากการเลี้ยงดูและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเขา เพียงเท่านี้ลูกน้อยก็จะมีสุขภาพจิตที่ดีและเติบโตได้อย่างมีคุณภาพแล้ว
สรุป
พัฒนาการเด็ก9เดือน ที่พ่อแม่ต้องรับมือให้ดีคือความอยากรู้อยากเห็นของเขา เนื่องจากเด็กในวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการหลายด้านที่เขาสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จึงเริ่มสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจเรื่องความปลดภัยในสภาพแวดล้อม สุขอนามัยความสะอาดในของใช้ของเขา และที่สำคัญคือเรื่องอาหารและโภชนาการ เพราะเด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตของร่างกายที่รวดเร็วมาก เราจึงควรดูแลให้เขาได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายให้ครบถ้วนสมบูรณ์และแข็งแรง
แหล่งที่มา : maerakluke , amarinbabyandkids , kaoleklek