พัฒนาการ ทารก 9 เดือน

คู่มือแก้ปัญหาจาก【 พัฒนาการ ทารก 9 เดือน 】เพื่อคุณแม่มือใหม่

พูดในเรื่องการฝึก พัฒนาการ ทารก 9 เดือน ไม่ว่าจะเป็น ของเล่นเสริมพัฒนาการ อาหารเพิ่มน้ําหนัก ความสูง และปัญหาของเด็กในช่วง 9-10 เดือน เช่น กินข้าวกี่มื้อ กินอะไรได้บ้าง นอนกี่ชั่วโมง ไม่ยอมดูดขวดนม ตกเตียง ท้องผูก ร้องตอนกลางคืน ลูกยังไม่คลาน ยังลุกนั่งเองไม่ได้ กินยากต้องทำยังไง 

ซึ่งเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่น้อย แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะในบทความนี้จะให้คำตอบกับคุณเอง


Table Of Contents

พัฒนาการทารก 9-10 เดือน ด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาย ควรเป็นยังไง?

สำหรับเด็กที่มี พัฒนาการทารก 9-10 เดือน จะเริ่มเข้าสู่ช่วงของการเคลื่อนไหวด้วยตัวเองนั้น ส่วนที่สำคัญอันดับแรกเลยคือ สรีระร่างกายของน้อง เด็กในวัยเก้าเดือนควรมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 8 – 10 กิโลกรัม

เนื่องจากพัฒนาการตามช่วงวัยมีความสัมพันธ์กับรูปร่างของเจ้าตัวเล็กไม่น้อย เพราะหากทารกน้อยมีรูปร่างที่จ้ำม่ำเกินไปอาจส่งผลให้เขาไม่อยากที่จะขยับตัวก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจให้เขาเติบโตไปอย่างสมวัยก็เพียงพอแล้ว

และเมื่อพูดถึงพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเจ้าหนูน้อยในช่วงเก้าเดือนนั้นทำไมจึงสัมพันธ์กับรูปร่างของเจ้าตัว ก็คงต้องบอกเลยว่าเพราะทารกวัยเก้าเดือนนี้กำลังจะเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองแล้ว เขาจะสามารถคว่ำตัวได้เอง ลุกนั่งได้เอง เคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยท่าคลาน หรือกระดึ๊บไปบนพื้นได้แล้ว

รวมไปถึงเจ้าหนูน้อยบางคนที่ซุกซนถึงขั้นจับสิ่งของเพื่อพยุงตัวเองขึ้นยืนได้เองด้วย นั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากว่าทำไมเราจึงควรจะดูแลให้ลูกน้อยเติบโตอย่างสมวัย เพราะบางอย่างที่มากไปอาจจะทำให้เป็นอุปสรรคในการสร้างพัฒนาการของเขาได้

นอกจากนี้แล้วยังมีพัฒนาการด้านอื่นๆอยู่อีก
คุณสามารถ Click เข้าไปดูเนื้อหาหัวข้อนี้อย่างละเอียดได้ที่ :
คู่มือ พัฒนาการเด็ก9เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!

พัฒนาการทารก 9-10 เดือน ด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาย ควรเป็นยังไง

15 ของเล่นเสริมพัฒนาการ 9 เดือน เลือกชนิดไหนดี?

สำหรับการเลือก ของเล่นเสริมพัฒนาการ 9 เดือน ควรเป็นของเล่นที่มีสีสันสดใสสะดุดตาและไม่มีเหลี่ยมหรือขอบที่แข็งและคมจดเกินไป เพราะนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเจ้าหนูของเราได้ และเด็กวัยนี้กำลังเริ่มเริ่มสนใจเสียงหรือสิ่งที่เคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัว รวมถึงการเรียนเสียงสิ่งที่ได้ยินด้วย ดังนั้นสีสัดสดใสจะช่วยให้ลูกน้อยโฟกัสสิ่งต่างๆ และเริ่มจดจำเสียงที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

  1. บล็อกสำหรับใส่รูปร่างให้ตรงกัน
  2. โมไบล์แขวนบนเปลหรือรถเข็น
  3. ตุ๊กตาหัดถือ
  4. ถุงมือหรือถุงนิ้วหุ่นตุ๊กตา
  5. หนังสือผ้าแบบมีหางหรือมีหูจับ
  6. ยางกัดเพื่อการพัฒนาการบดเคี้ยว
  7. ลูกบอลอย่างที่เด้งได้หรือมีความยืดหยุ่น
  8. โทรศัพท์ของเล่นที่กดแล้วมีเสียง
  9. กล่องดนตรีที่มีเสียงและไฟ
  10. เปียโนของเล่น/เครื่องดนตรีที่กดแล้วมีเสียงต่างกัน
  11. ห่วงหรรษา บล็อกสำหรับเรียงสีและขนาดให้ใส่ได้
  12. ตุ๊กตาบีบที่บีบแล้วมีเสียง
  13. รถเข็นฝึกเดิน
  14. ซิลิโคนดึงเชือก
  15. กล่องกิจกรรมฝึกยืนที่นั่งเล่นและสามารถเกาะยืนได้
15 ของเล่นเสริมพัฒนาการ 9 เดือน เลือกชนิดไหนดี

ทารก9เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?

สำหรับคำถามว่า ทารก9เดือน กินข้าวกี่มื้อ นั้น เนื่องจากเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตจึงควรกินข้าววันละ 3 มื้อ เพราะใน 1 วัน เด็กจะต้องการพลังงานประมาณ 800 – 950 กิโลแคลอรี ทั้งจากนมและอาหาร โดยเฉลี่ยปริมาณนมต่อวันที่ควรให้จะอยู่ที่ 20 – 35 ออนซ์

นอกจากมื้อหลักแล้ว หากสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มหิว อาจจะเพราะเด็กไม่ค่อยยอมทานมื้อหลัก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถให้มื้อว่างจำพวก ผลไม้หั่นหยาบ หรือผลไม้บดที่มีลักษณะนิ่มและเคี้ยวได้ง่ายด้วยก็ได้ 

แต่สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ คือ เราไม่ควรบังคับให้ลูกทานอาหารที่เราให้

ทารก 9 เดือน กินข้าวกี่มื้อ

ลูก 9 เดือนยังไม่คลาน ปกติไหม? ทำยังไงดี?

ในเรื่อง ลูก 9 เดือนยังไม่คลาน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ อย่าพึ่งกังวลไปหากลูกน้อยถึงวัยที่ต้องเคลื่อนไหวแต่กลับไม่อยากขยับตัว สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไปดูสาเหตุและวิธีการแก้ไขเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งเหล่านี้กันเลย

  1. ขนาดตัวที่ใหญ่เกินวัย สาเหตุนี้เกิดขึ้นบ่อยมากในหมู่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยหัดเดิน เนื่องจากเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ เขาจึงส่งเสียงร้องเพื่อเป็นสัญญาณให้เราสนใจเขาเอาไว้ก่อน และเมื่อเราได้ยินลูกร้องสิ่งแรกที่ทำคือนำนมมาป้อนเขาทันที นั้นจึงเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เจ้าหนูของเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจนเกินวัย และเป็นสาเหตุให้เขาไม่อยากขยับตัว เราสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยการช่วยเขาขยับตัวให้ง่ายขึ้น เช่น ช่วยจับตัวเขาคว่ำ จับนั่ง หรือช่วยให้เขาเกาะสิ่งของแล้วยืนด้วยตัวเอง ที่สำคัญที่สุดเราต้องช่วยเขาในการควบคุมอาหารและน้ำหนักให้อยู่ในความพอดีตามวัยที่เขาเป็นด้วย
  2. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย พื้นที่สำหรับให้ลูกน้อยใช้เคลื่อนไหวถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากที่พื้นที่เหล่านั้นควรจะกว้างมากพอให้เขาได้คลานไปจนทั่วแล้ว ก็ไม่ควรมีสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยของเราเช่นกัน อย่างพวกปลั๊กไฟ ของมีคม หรือสิ่งของที่สามารถแตกหักเสียหายได้ เราควรจัดการของพวกนั้นออกไปให้พ้นมือเขาอย่างเด็ดขาดเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
  3. การอุ้มเขาบ่อยจนเกินไป ลองปล่อยให้เขาได้ไปเรียนรู้สัมผัสใหม่ๆ จากสิ่งรอบตัวบาง เพราะการที่เราอุ้มเขาเอาไว้แทบจะตลอดเวลาทำให้เขาไม่ได้เรียนรู้ว่าตัวเขาสามารถเคลื่อนไหวได้เอง นั้นจึงทำให้เขาใช้งานกล้ามเนื้อหรือเคลื่อนไหวตัวได้ไม่ดีนัก สิ่งที่เราจะช่วยเสริมพัฒนาการของเขาได้คงเป็นการหลอกล่อให้เขาขยับตัวเข้ามาหาเราด้วยตัวเอง
  4. การบาดเจ็บ เพราะเด็กในวัยนี้ไม่สามารถบอกความต้องการหรือความเจ็บปวดกับเราได้ ดังนั้นเราจึงต้องสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เพราะบางทีที่เขาไม่อยากขยับตัวหรือมีอาการงอแงทุกครั้งที่ต้องเคลื่อนไหวอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บก็เป็นได้
ลูก 9 เดือนยังไม่คลาน ปกติไหม

ทารก 9เดือน กินอะไรได้บ้าง ?

คำถามที่ว่า ทารก 9เดือน กินอะไรได้บ้าง นั้น ทารกในวัยนี้ควรทาน อาหารที่มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่มไม่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป สามารถเคี้ยวและย่อยง่าย และที่สำคัญต้องเป็นอาหารปรุงสุก พร้อมบด พอหยาบ เพื่อให้เขาได้ฝึกเคี้ยวอาหารด้วยตัวเอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  1. ข้าวสวยบดหยาบ
  2. อกไก่นึ่งหรือต้ม
  3. เนื้อหมูบดเป็นส่วนที่ไม่ติดมัน
  4. เนื้อปลานึงหรือทอดแบบที่ไม่มีน้ำมันเยอะจนเกินไปและควรเป็นปลาสด
  5. ตับไก่หรือตับหมูต้ม
  6. ถั่วฝักยาวต้มสุก
  7. ผักกาดขาวต้ม/นึ่ง
  8. แครอทต้ม
  9. ฟักทองต้ม/นึ่งแบบเลาะเปลือกออก
  10. แตงกวาแบบปลอกเปลือก
  11. กล้วยสุก
  12. มะม่วงสุก
  13. มะละกอสุก
  14. ส้มแกะเม็ดออก
  15. แก้วมังกร

หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนูอาหารเด็ก9เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูกอย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ :
แนะนำเมนูอาหารเด็ก9เดือน กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน?

ทารก9เดือน น้ำหนัก ตามเกณฑ์ควรเป็นเท่าไร?

สำหรับ ทารก9เดือน น้ำหนัก ตามเกณฑ์จะอยู่ที่ 8 – 10 กิโลกรัม และไม่ควรเกินกว่านี้มากนักเพราะนั้นอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเขาได้ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของเขานั้นยังไม่สมบูรณ์ดี เราจึงควรดูแลเรื่องปริมาณอาหารในแต่ละมื้อให้ไม่มากหรือน้อยจนเกินและควรเป็นอาหารที่สามารถย่อยได้ง่ายเพื่อให้เขาได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 9 เดือน

สำหรับ อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 9 เดือน จะให้ในกรณีที่หากทารกวัยนี้มีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์มากเกินไป คุณพ่อคุณแม่สามารถให้อาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ป้อนในแต่ละมื้อเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เขาได้ ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก ที่มีส่วนผสมจากนมวัว นมแพะ หรือนมถั่วเหลือง

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 9 เดือน

อยาก ฝึก พัฒนาการ ทารก 9 เดือน ควรทำอะไรบ้าง?

อยาก ฝึก พัฒนาการลูก 9 เดือน ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเด็กในวัยนี้เริ่มที่จะจดจำเสียงและโฟกัสภาพเคลื่อนไหวแล้ว ดังนั้นเราจึงควรใช้เสียงพูดคุยและของเล่นที่มีสีสันหรือเสียงดนตรีเป็นตัวช่วยในการฝึกพัฒนาการของเขา สามารถช่วยฝึกพัฒนาการของเขาได้ง่ายๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. หลอกล่อให้เขาเคลื่อนไหวตาม
  2. เรียกชื่อของเขาเพื่อให้เขาจดจำชื่อของตัวเอง
  3. ช่วยพยุงเขาให้เริ่มยืนหรือลุกนั่งด้วยตัวเอง
  4. พูดคุยกับเขาให้มากๆ เพื่อฝึกทักษะการแยกเสียง
  5. เล่านิทานพร้อมเปิดหนังสือภาพให้เขาฟังและดูบ่อยๆ
  6. เปิดสมุดภาพที่มีสีสันสดใสจะเป็นภาพสัตว์หรือผลไม้ต่างๆ ก็ได้ พร้อมบอกเขาว่าสิ่งนี้คืออะไรเพื่อให้เขาได้จดจำและเริ่มจะพูดตามคุณ
  7. ชื่นชมเขาทุกครั้งที่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เช่นหยิบของกินเข้าปาก เคลื่อนไหวได้เอง ลุกนั่งหรือยืนได้เอง
  8. พาเขาออกไปเที่ยวนอกบ้าน เพื่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และเพื่อฝึกให้เขาไม่กลัวหรือตกใจเวลาเจอคนแปลกหน้า

ลูก9เดือน ติดเต้า ไม่ยอมดูดขวด นมรับมืออย่างไรดี?

สำหรับ ลูก9เดือน ไม่ยอมดูดขวด นมถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่แม่ๆ ทั้งหลายกังวลใจ เพราะลูกน้อยบางคนไม่ยอมห่างเต้าเลย

วิธีแก้ง่ายๆ คือเปลี่ยนเป็นให้นมเขาจากเต้าเป็นขวดให้บ่อยขึ้น เด็กบางคนอาจติดกลิ่นตัวของคุณแม่หรือชอบจับเต้าขณะที่เขาดื่มนม

ดังนั้นเมื่อเขาเริ่มดื่มนมจากขวดคุณแม่ควรห่มผ้าหรือหาตุ๊กตามาไว้ใกล้ๆ มือเขาเพื่อให้เจ้าหนูน้อยจะได้มีของจับขณะดื่มนมเขาจะค่อยๆ ชิน และเลิกดื่มนมจากเต้าได้เอง

ความสูงเด็ก9เดือน มาตรฐานตามเกณฑ์ควรสูงเท่าไหร่?

มาตรฐาน ความสูงเด็ก9เดือน ตามเกณฑ์ควรสูงประมาณ 70.25 เซนติเมตร ซึ่งเป็นส่วนสูงตามค่ากลางของทารกทั้งสองเพศ หากทารกคนไหนที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มากเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือน่ากังวลใจ เพราะสาเหตที่เขาตัวเล็กมากไปอาจเป็นเพราะกรรมพันธุ์ก็เป็นได้

ดังนั้นเราสามารถช่วยเสริมส่วนสูงของเขาได้ง่ายๆ จากการให้เขาดื่มนมที่มีส่วนผสมของแคลเซียม เพื่อช่วยในการสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงและเพียงพอต่อการเติบโตของเขา และพาเขาออกกำลังกายด้วยการฝึกให้เขาหัดเดิน หรือคลานบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

ลูก9เดือน ตกเตียง เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ควรตกใจ

ปัญหาเรื่อง ลูก9เดือน ตกเตียง นั้น สิ่งแรกที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณมีลูกน้อยวัยกำลังซนแบบนี้เลยคือ เตียงนอนที่สูงเกินกว่าสัดส่วนของลูกน้อย เพราะนั้นเป็นอันตรายโดยธรรมชาติอย่างแรกเมื่อลูกของคุณต้องตกลงมา

และหากเป็นฟูกนอนที่ไม่สูงจนเกินไป เมื่อลูกของคุณตกลงมาสิ่งแรกที่คุณควรทำคือตั้งสติ ห้ามเสียงดังหรือโวยวายด้วยความตกใจ เพราะนั้นจะทำให้เขาตกใจตามไปด้วย

ให้สำรวจบาดแผลบนร่างกาย หากไม่มีบาดแผลภายนอกให้สังเกตอาการที่เปลี่ยนไป เช่น

  • ลูกน้อยไม่ร่าเริงเหมือนเดิม
  • ทานอาหารน้อยลง
  • สำรอกนมและอาเจียนรุนแรง

นั้นอาจเป็นสัญญาณการบาดเจ็บจากบางส่วนในสมอง ควรพาน้องไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด

พิชิตปัญหา ลูก9เดือน กินยาก

พิชิตปัญหา ลูก9เดือน กินยาก ได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  • เลือกอาหารที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ หรืออาหารที่ไม่มีกลิ่นฉุน
  • เลือกผลไม้ หรือ ขนมอบกรอบที่ไม่แข็งเกินไป
  • จัดอาหารให้เป็นชิ้นพอดีกับมือของเด็ก เพื่อให้เขาสามารถหยิบเข้าปากเองได้ ก็จะช่วยให้เขาเกิดความสนุกในการทานอาหาร และช่วยเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมือของเขาให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

ทารก9เดือน นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะดี?

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ทารก9เดือน นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะดี ถ้าว่ากันตามมาตรฐานเลย ทารกวัยนี้ควรนอนอย่างน้อย 16 ชั่วโมง/วัน โดยแบ่งเวลาการนอนในช่วงกลางวันเป็นวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้า 1 -2 ชั่วโมง

จากนั้นปล่อยให้เขาได้ฝึกคลาน ฝึกนั่ง หรือฝึกเดิน ก่อนจะให้เขานอนอีกครั้งในช่วงบ่ายอีก 2 ชั่วโมง จากนั้นอาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารที่เสริมเข้าไปเพื่อให้เขาได้กินอิ่มและหลับสนิทในตอนกลางคืนเป็นเวลา 10 – 12 ชั่วโมง ตลอดทั้งคืน

ทารก9เดือน ท้องผูก รับมือยังไงดี?

สาเหตุที่ทำให้ ทารก9เดือน ท้องผูก อาจจะเกิดจากการที่เขาเริ่มทานอาหารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ลำไส้ของเขาที่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถย่อยอาหารเหล่านั้นได้ทั้งหมด

ดังนั้นลองให้เขาทานผักหรือผลไม้ที่มีกากใยสูงก็จะสามารถช่วยให้การย่อยอาหารได้ดีขึ้น ส่งผลให้การขับถ่ายของเขาดีขึ้นได้ด้วย

แก้ปัญหา ทารก 9เดือน ร้องกลางคืน ทำยังไงดี?

สำหรับการแก้ปัญหา ทารก9เดือน ร้องกลางคืน นั้น สามารถทำได้ด้วยการเปิดเพลงบรรเลงหรือดนตรีโมทซาร์ท ซึ่งสามารถช่วยให้ทารกน้อยนอนหลับได้ดีขึ้น หรือเพียงแค่คุณอยู่ใกล้ๆ เขากลิ่นความอบอุ่นของพ่อแม่ก็จะสามารถช่วยให้เจ้าหนูน้อยนอนหลับได้ง่ายๆ โดยไม่ร้องไห้งอแงแล้ว

ทารก 9เดือน ยังลุกนั่งเองไม่ได้ สัญญาณผิดปกติของพัฒนาการลูกน้อย

หาก ทารก9เดือน ยังลุกนั่งเองไม่ได้ อาจไม่ได้เกิดจากพัฒนาการที่ช้าเกินวัย แต่อาจหมายถึงสัญญาณอันตรายของความผิดปกติจากร่างกายของเด็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้ดีว่าเขาไม่ยอมนั่งเอง หรือเขาไม่สามารถนั่งเองได้

ซึ่งวิธีการทดสอบ คือ ถ้าจับนั่งแล้วก็ล้มไปเองเฉยๆ หรือไม่สามารถทรงตัวได้ นั้นอาจหมายความว่ากล้ามเนื้อของเขาอ่อนแรง หรือมีความผิดปกติในด้านอื่น ๆที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเขา

สรุป

อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของหนูน้อยที่อาจจะเร็วหรือช้าเกินกว่าเกณฑ์ ขึ้นอยู่ได้กับหลายปัจจัย ขอเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายใส่ใจและดูแลลูกน้อยด้วยความรัก คอยสังเกตพฤติกรรมของเขาอยู่ตลอด ทั้งพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้เขามีพัฒนาการและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์สมวัยได้อย่างมีคุณภาพแล้ว

แหล่งที่มา : dadida , amarin , ufoid