ในบทความนี้พูดเรื่อง ตาราง เมนู อาหาร เด็ก 7 เดือน ให้ทารกกินอะไรได้บ้าง เช่น ผลไม้ ข้าวโอ๊ต ไข่แดง ผักใบเขียว แล้วทารกควรกินกี่มื้อ ปริมาณอาหารเสริมสําหรับเพิ่มน้ําหนักลูก ลูกเบื่ออาหารต้องแก้ยังไง
ซึ่งเป็นความรู้ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการหลาย ๆ ด้านของลูกน้อยเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามเอาใจใส่ ศึกษาเพื่อให้ลูกได้มีพัฒนาการที่ถูกต้องสมวัย หากพร้อมแล้ว ไปอ่านกันได้เลย!!
แนะนำ เมนูอาหารทารก7เดือน ควรเป็นแบบไหน?
สำหรับ เมนูอาหารทารก7เดือน ของเด็กวัยนี้ ควรให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมของเด็กแต่ละคน และอาจจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษในขั้นตอนของการปรุง
แต่ถึงแม้ว่าลูกของคุณสามารถเริ่มกินอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้นนั้น ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่ เด็กบางคนอาจมีอาการแพ้อาหารบางชนิด หรืออาจจะกินแล้วทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้
ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มป้อนให้ลูกกินในจำนวนน้อยก่อน และเริ่มให้กินทีละอย่าง อย่างละ 3 - 5 วัน เพื่อตรวจสอบว่าลูกมีอาการแพ้อาหารชนิดไหนหรือไม่
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกทำอาหารให้ลูกน้อยทานได้ โดยพิจารณาจากสารอาหารที่ลูกน้อยควรได้รับ ดังต่อไปนี้
1. โปรตีนจากเนื้อสัตว์
โปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นสารอาหารที่สำคัญ และขาดไม่ได้เลยสำหรับร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะร่างกายของเด็กวัยนี้ที่กำลังอยู่ในช่วงที่มีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ด้าน เราแนะนำเนื้อสัตว์ที่สามารถกินได้ในเด็กวัยนี้ ดังนี้
- อกไก่ต้ม
- เนื้อไก่
- ไข่ไก่ต้มเฉพาะไข่แดงเท่านั้น
- เนื้อหมูปรุงสุก
- ปลาเนื้อขาว ทำการฉีก บดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กพอดีคำ อาจจะกินคู่กับน้ำซุปกระดูกหมู
ซึ่งปริมาณที่จำเป็นจะอยู่ที่ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กแต่ละคนด้วย
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้มากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อระบบขับถ่ายของเด็ก จนทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือท้องเสียได้
2. แป้งหรือคาร์โบไฮเดรตจากข้าว
ข้าวที่เหมาะสมกับเด็กช่วงวัยนี้ เน้นข้าวที่ไม่ขัดสี ควรบดให้หยาบพอประมาณ ไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก จะสามารถช่วยให้เด็กได้ฝึกการเคี้ยว และช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเทมโพราลิส (กล้ามเนื้อรูปพัดอยู่ด้านข้างของขมับ และขากรรไกรล่าง) ซึ่งทำหน้าที่ยกขากรรไกรล่างขึ้น เพื่อใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นอย่างมาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ มีความแข็งแรงขึ้น ทำให้เด็กมักไม่อยู่กับที่ และมีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง คาร์โบไฮเดรตจากข้าวบดหยาบจึงดีต่อร่างกาย และพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก
ซึ่งข้าวที่แนะนำจะเป็น
- ข้าวสวย
- ข้าวกล้อง
- ข้าวซ้อมมือ
- ข้าวโอ๊ต
- และธัญพืชต่าง ๆ
ส่วนปริมาณข้าวที่จำเป็นต่อวัน จะอยู่ที่ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ
3. เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ จากผัก
การให้เด็กกินผัก นอกจากเด็กจะได้รับเกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ แล้ว ซึ่งใยอาหารจากผักจะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการท้องผูกหรือขับถ่ายยากอีกด้วย ซึ่งผักที่เราแนะนำมีดังนี้
- ฟักทอง
- แครอท
- บร็อคโคลี่
- อะโวคาโด
- ผักโขม
- หน่อไม้ฝรั่ง
- คะน้า
- และกะหล่ำปลี
คุณพ่อคุณแม่ สามารถต้มผักชนิดต่าง ๆ จนนิ่ม จากนั้นบดให้หยาบพอประมาณ กินคู่กับเนื้อสัตว์ และข้าวได้
4. วิตามินจากผลไม้สุก
ผลไม้มีส่วนช่วยเพิ่มพัฒนาการทางด้านสมอง เสริมสร้างความจำ และทดแทนการขาดน้ำได้ และรสหวานอ่อน ๆ จากผลไม้จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น วิตามินเอในผลไม้จะช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งยังเป็นยาระบายชนิดเบา ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่า มีประโยชน์รอบด้าน
โดยปริมาณที่จำเป็นจะอยู่ที่ประมาณ 2 - 3 ชิ้นต่อวัน ให้ทานหลังจากมื้ออาหาร ควรปั่นให้หยาบพอประมาณ ไม่ควรหั่นให้กินเป็นชิ้นๆ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
เมนู อาหาร เด็ก 7 เดือน กินอะไรดี?
ถึงแม้ว่า เมนู อาหาร เด็ก 7 เดือน จะมีความหลากหลายขึ้นแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังควรให้นมแม่เป็นหลัก ควบคู่ไปกับการกินอาหาร นั้นเพราะนมแม่ยังคงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการของเด็กอยู่ ซึ่งการให้เด็กกินอาหารเป็นเพียงการช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และรวดเร็วมากขึ้น โดยเราแยกเมนูตามชนิดของอาหารให้ ดังต่อไปนี้
1. เมนู ผลไม้เด็ก 7 เดือน กินผลไม้อะไรได้บ้าง ?
เด็กในวัยนี้สามารถเริ่มกินผลไม้ได้แล้วหลายอย่าง แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า เมนู ผลไม้เด็ก 7 เดือน กินผลไม้อะไรได้บ้าง นั้นเพราะว่า ผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายของเด็กทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้ท้องผูกหรือขับถ่ายยาก อีกทั้งยังมีวิตามินที่มีประโยชน์ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็กอีกด้วย ซึ่งทางเราขอแนะนำผลไม้ดังนี้
แอปเปิ้ล
เป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูง ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย มีรสหวานอ่อนๆ ช่วยให้เด็กรู้สึกสดชื่นเมื่อได้กิน มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการไอ โรคกระเพาะอาหาร และโรคท้องร่วง ถือว่าเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเด็กเป็นอย่างมาก สามารถเริ่มทานได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้น ควรนำมาปั่นให้ละเอียดเล็กน้อยก่อนให้ลูกกิน
สาลี่
ผลไม้ที่ช่วยทดแทนการขาดน้ำของเด็กได้ เนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนประกอบค่อนข้างเยอะ ซึ่งวิตามินซีในสาลี่ก็ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดฟลาโวนอยด์ ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ ที่สาเหตุหลักของการเป็นหวัดด้วย
บลูเบอร์รี่
เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อเด็ก 7 เดือนเป็นอย่างมาก มีวิตามินซีสูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง มีใยอาหารสูง ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย อีกทั้งยังช่วยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจได้อีกด้วย ที่สำคัญรสชาติดีถูกปากเด็กๆแน่นอน
กล้วยน้ำว้า
เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและแคลเซียมสูงมาก รวมถึงโปแตสเซียมและโปรตีน ซึ่งมีสารอาหารครบใกล้เคียงกับสารอาหารในนมแม่ที่จำเป็นสำหรับเด็กเลย ซ้ำยังมีฮิสโตแฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการหลั่งเอ็นโดรฟิน การกินกล้วยจึงส่งผลให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย หลับสบาย
เมนูข้าวเด็ก7เดือน พร้อมวิธีทำ
สำหรับเมนูข้าวเด็ก7เดือน ควรเน้นเป็นเมนูที่สามารถย่อยได้ง่ายก่อน และให้เด็กกินวันละ 1 มื้อก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ การเลือกเมนูที่มีสารอาหารที่เหมาะสม ครบถ้วน และมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของลูก โดยเมนูข้าวที่จะมาแนะนำ มีดังนี้
1. เมนูข้าวต้มหมูบด เมนูแสนง่ายทำตามได้ไม่ยาก
มีขั้นตอนดังนี้
- นำข้าวไปต้มจนสุก
- จากนั้นใส่เนื้อหมูบดลงไป คนไปเรื่อย ๆ จนหมูบดสุกดี
- ใส่ปวยเล้งสับหยาบลงไป เคี่ยวไปสักพักจนปวยเล้งเริ่มเปื่อยก็พร้อมเสิร์ฟ
2. เมนูโจ๊กบร็อคโคลี่ เปลี่ยนผักที่เด็กเกลียดให้น่าทาน
วิธีทำมีดังนี้
- นำข้าวไปต้มจนสุก จากนั้นใส่บร็อคโคลี่ และแป้งสาลีลงไป
- ปรุงรสชาติด้วยเกลือเล็กน้อย
- เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนทุกอย่างเข้ากันก็เป็นอันเสร็จ
3. เมนูข้าวตุ๋นแครอทฟักทอง รสหวานหน่อย ๆ แต่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ
ขั้นตอนมีดังนี้
- ใส่ไข่แดง นำข้าว และผักไปต้มรวมกันประมาณ 25 - 30 นาที
- เมื่อผักเปื่อยดี นำไปบดให้ละเอียด
- นำไข่แดงต้มสุกมาบดละเอียดแล้วนำมาผสมกับข้าว และผักที่ต้มจนเปื่อยไว้
- เคี่ยวไปสักพักให้ทุกอย่างเข้ากันก็เป็นอันเสร็จ
4.เมนูข้าวตุ๋นตำลึงเต้าหู้ไข่ ที่เต็มไปด้วยโปรตีนและวิตามิน
มีวิธีทำดังนี้
- นำข้าวไปต้มกับน้ำซุปกระดูกหมูที่เตรียมไว้จนข้าวเริ่มเปื่อยกำลังดี
- จากนั้นใส่เนื้อปลาลงไป (เนื้อปลาต้องเป็นปลาน้ำจืดเนื้อขาวอย่างเช่น ปลาสวาย)
- เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนเนื้อปลาสุกกำลังดี
- นำเต้าหู้ไข่กับตำลึงใส่ตามลงไป คนไปเรื่อย ๆ จนทุกอย่างเข้ากันดีก็เป็นอันเสร็จ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรู้ก่อนว่า ลูกของคุณสามารถกินอาหารชนิดใดได้หรือไม่ได้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กเอง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง และเหมาะสม
เมนูไข่แดง ทารก7เดือน
เป็นที่รู้กันว่า สารอาหารที่ได้จากไข่แดงนั้นมีประโยชน์มาก และดีต่อสุขภาพของเด็ก มีโปรตีนชั้นสูง กินง่าย มีส่วนช่วยให้เด็กแข็งแรงสมวัย แต่จำเป็นต้องต้มให้สุกก่อน เพื่อให้เด็กสามารถกินได้ โดยเมนูที่มีไข่แดงเป็นส่วนประกอบ เราแนะนำเป็นเมนูข้าวต้มไข่แดง ซึ่งมีขั้นตอนการทำไม่ได้ยาก ดังนี้
- เริ่มด้วยการผสมข้าวต้มกับน้ำซุปกระดูกหมูที่เตรียมไว้
- เคี่ยวด้วยไฟอ่อนสักพัก ใส่ไข่แดงลงไปแล้วค่อย ๆ คนจนเข้ากัน
- จากนั้นใส่ใบตำลึงกับแคร์รอตลงไป
- เคี่ยวต่อจนผักเริ่มเปื่อยเป็นอันเสร็จ
เมนูข้าวโอ๊ต ทารก7เดือน
ข้าวโอ๊ต เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ และดีต่อสุขภาพของเด็ก นั้นเพราะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง อีกทั้งยังมีวิตามินบี 1 บี 3 บี 6 มีส่วนช่วยทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น โดยเมนูข้าวโอ๊ต เราแนะนำเป็น ข้าวโอ๊ตผักรวม ซึ่งวิธีทำก็ง่ายมาก คุณแม่ก็สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้
- เริ่มต้นด้วยเตรียมการหั่นบร็อคโคลี่ และแครอทเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- จากนั้นนำลงไปต้มกับข้าวโอ๊ตจนทุกอย่างสุกได้ที่
- ลดไฟลงแล้วค่อย ๆ ต้มต่ออีกประมาณ 10 - 15 นาที หรือจนกว่าผักจะเริ่มนิ่ม
- เคี่ยวไปสักพักก็นำไปพักเอาไว้รอจนกว่าจะเย็นลง
- นำไปปั่นให้ส่วนผสมเข้ากันดี แต่ไม่ต้องละเอียดมาก ให้มีความหยาบพอประมาณก็เป็นอันเสร็จ
เด็ก7เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?
คุณพ่อคุณแม่อาจกังวลว่าควรให้ เด็ก7เดือน กินข้าวกี่มื้อ ใน 1 วัน ซึ่งตามหลักแล้ว เด็กในวัยนี้ควรให้ทานอาหารแค่ 1 มื้อ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่เป็นหลักก็เพียงพอแล้ว เพราะว่านมแม่ยังเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการในด้านอื่นๆด้วย การกินข้าวจึงควรเป็นแค่การเพิ่มสารอาหารนอกเหนือจากนมแม่ที่มีหรือมีไม่มากพอ เพื่อทำให้เด็กมีความแข็งแรง สมบูรณ์มากขึ้น
ซึ่งเด็กแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะสามารถกินได้มากกว่า 1 มื้อขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นที่จะต้องสังเกตดูพฤติกรรมของเด็กให้ดี เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน เมื่อน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์
สำหรับ เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 7 เดือน จะจำเป็นเมื่อลูกมีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากลูกไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการในด้านต่างๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถเน้นเมนูอาหารให้เด็กได้ดังนี้
- ให้อาหารนอกเหนือจากการให้นมแม่เข้าไปด้วย อย่างน้อยวันละ 1 - 2 มื้อ ก็จะสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับเด็กได้ ซึ่งแนะนำเป็นอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตสูง และมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์
- เน้นให้ทานอาหารที่ให้พลังงานที่ได้จากคาร์โบไฮเดรต ก็จะทำให้เด็กมีเรี่ยวแรงมากพอที่จะเคลื่อนไหวได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นการฝึก และพัฒนากล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ บวกกับได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกทางหนึ่ง ส่งผลทำให้เด็กมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์อีกด้วย
- เมนูอาหารเพิ่มน้ำหนัก เช่น ข้าวโอ๊ตตุ๋นกับไก่ และตับบดใส่ไข่แดง ซึ่งข้าวโอ๊ตมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมาก และไก่ ตับบด และไข่แดงต่างก็เป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมที่เด็กสามารถกินได้
ผักสําหรับทารก7เดือน ที่สามารถกินได้
ผักสําหรับทารก7เดือน คือ แหล่งสารอาหารพวกเกลือแร่ชั้นดี และแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ที่ใช้ในการพัฒนาการในด้านต่างๆของเด็ก ซึ่งผักที่เด็กวัยนี้สามารถกินได้ และมีประโยชน์ก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น
- ปวยเล้ง มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี และใยอาหารสูงมาก ช่วยลดอาการท้องผูกของเด็ก มี วิตามินบี 12 ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือด ส่งผลทำให้เด็กแข็งแรงมากขึ้น
- บร็อคโคลี่ มีวิตามินซีที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ไม่ป่วยหรือเป็นหวัดง่าย มีไฟเบอร์สูงช่วยลดอาการท้องผูกของเด็กได้ กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น
- แครอท เต็มไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ทั้งวิตามินบี วิตามินอี แคลเซียม เบตาแคโรทีน ที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง ช่วยบำรุงผิว บำรุงสายตา ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
- ฟักทอง มีสารอาหารที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็ก โพรไบโอติกในฟักทองช่วยให้เด็กนอนหลับได้สนิทตลอดคืน มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน ที่ช่วยบำรุงกระดูก และฟันให้แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด สามารถช่วยป้องกันผิวของเด็กจากรังสียูวีได้ดีอีกด้วย
- ตำลึง สามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี สารไทอะโคสิดในตำลึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด และเสริมประสิทธิภาพของระบบหลอดเลือด อีกทั้งยังมีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง มีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยเรื่องบำรุงสายตาได้ดี
10 ผักใบเขียว สําหรับทารก 7 เดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันเด็กได้
ผักใบเขียว สําหรับทารก 7 เดือน จะช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งมากขึ้น เพราะช่วยทำให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นหวัดได้ง่าย ซ้ำยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ซึ่งการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยการให้เด็กเริ่มกินผักใบเขียว ซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเด็ก ในผักใบเขียวส่วนมากจะมี วิตามินเอ วิตามินซี และ วิตามินเค ที่จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของเด็กให้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกทั้งผักใบเขียวยังมีใยอาหารสูงมาก ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี ลดอาการท้องผูก ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งผักใบเขียวที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้เด็กมีหลายชนิดดังต่อไปนี้
- ผักบุ้งจีน
- ผักกูด
- ผักชีฝรั่ง
- ผักโขม
- บร็อคโคลี่
- ปวยเล้ง
- ผักกาดหอม
- ผักกาดขาว
- ผักกระเฉด
- ตำลึง
ในผัก 10 ชนิดที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่มีวิตามินเอ วิตามินซี และ วิตามินเค ที่จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้เหมือนกัน
คุณพ่อคุณแม่ควรลองให้ลูกกินทีละอย่าง หมั่นสังเกตอาการว่าลูกชอบหรือไม่ชอบผักชนิดไหน เพื่อที่จะได้เลือกผักที่ลูกสามารถกินได้โดยง่าย
และที่สำคัญที่สุดคือผักทุกชนิดจำเป็นต้องทำให้สุกก่อน เพื่อความปลอดภัยของเด็ก
ปริมาณอาหารทารก7เดือน ที่ควรได้รับ
ปริมาณอาหารทารก7เดือน แต่ละคนที่ควรได้รับนั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆอย่าง เด็กบางคนอาจกินได้แค่ 1 - 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น แต่เด็กบางคนก็อาจกินได้ถึง 8 - 12 ช้อนโต๊ะเลยก็ได้
ทางที่ดี คือ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กว่ามีความต้องการมากน้อยขนาดไหน หรือไม่ก็ควรปรึกษาจากแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ดี และถูกต้องที่สุด
เมื่อไรที่ควรทาน อาหารเสริมสำหรับเด็ก7เดือน
สำหรับ อาหารเสริมสำหรับเด็ก7เดือน ตามหลักแล้ว คุณหมอส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้เด็กเริ่มกินอาหารเสริมเมื่ออายุประมาณ 6 - 7 เดือนขึ้นไป เพราะการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอต่อการเติบโตของเด็กวัยนี้อีกต่อไป
จำเป็นต้องได้รับพลังงาน และอาหารเสริมจากอาหารตามวัยเพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งอาหารเสริมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัยก็จะแตกต่างกันออกไป คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวให้ดีเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของตัวเด็ก
ลูกเบื่ออาหาร7เดือน ทำไงดี?
เมื่อลูกเริ่มเบื่ออาหาร คุณพ่อคุณแม่จำต้องพยายามเอาใจใส่มากขึ้นกว่าเดิม คอยสังเกตพฤติกรรมการกินของลูก เพื่อให้รู้ว่าลูกชอบหรือไม่ชอบกินอะไร และพยายามทำอาหารที่ลูกชอบ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเบื่ออาหารของลูกได้
หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในทารก 7 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าดูเนื้อหาหัวข้อนี้อย่างละเอียดได้ที่ : คู่มือ พัฒนาการ เด็ก 7 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!
ตารางอาหารทารก 7 เดือน
เนื่องจาก เด็กแต่ละคนนั้นล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ตารางอาหารทารก 7 เดือน จึงไม่ใช่สิ่งที่จะทำออกมาได้อย่างตายตัว และถูกต้องสำหรับทุกคน แต่จะสามารถทำสรุปออกมาในเบื้องต้นได้ดังนี้เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับลูกของคุณได้
เวลา | กิจวัตร / ประเภทอาหาร |
07:00 น. | ตื่นนอน |
07:45 น. | ให้อาหารตามวัยมื้อเช้า |
09:00 น. | นอน |
11:30 น. | ให้นม (ประมาณ 6 - 8 ออนซ์) |
12:15 น. | ให้อาหารตามวัยมื้อเที่ยง |
13:45 น. | ให้นม (ประมาณ 6 - 8 ออนซ์) |
14:00 น. | นอน |
16:00 น. | ให้นม (ประมาณ 6 - 8 ออนซ์) |
17:30 น. | ให้อาหารตามวัยมื้อเย็น |
19:00 น. | ให้นม (ประมาณ 6 - 8 ออนซ์) |
19:30 น. | เข้านอน |
สรุป
เด็ก 7 เดือนเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมเพิ่มเติมมากกว่าแค่การให้นมแม่ เพราะนมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยนี้อีกต่อไป การเลือกอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และสำคัญเป็นอย่างมาก
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เพราะการกินอาหารที่ดี เหมาะสมกับวัยนั้นจะเป็นประโยชน์ และเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโต แข็งแรงขึ้น และมีพัฒนาการที่ครบถ้วน สมบูรณ์
ทางที่ดีที่สุดคือควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง และเหมาะสมที่สุดกับลูกของคุณ