เมนู อาหาร เด็ก 8 เดือน กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน

แนะนำ【 เมนู อาหาร เด็ก 8 เดือน 】กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน?

เมนู อาหาร เด็ก 8 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ในเรื่อง ลูกน้อยต้องกินกี่มื้อและตารางปริมาณอาหารสําหรับทารก 8-9 เดือน ควรเป็นเท่าไร เมื่อเด็กเบื่ออาหารต้องทำอย่างไร ซึ่งอาจจะเปลี่ยนเมนูไปเรื่อยๆก็ได้ เช่น เมนู blw ปลาแซลมอน ข้าวบด ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง เต้าหู้ไข่ อาหารหยาบ ขนมปัง ผักผลไม้ รวมไปถึงเมนูเพิ่มน้ําหนัก อีกด้วย

ดังนั้นการดูแลเรื่องโภชนาการของเขาให้ครบถ้วนและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
หากพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ


Table Of Contents

เมนู อาหาร เด็ก 8 เดือน มีอะไรบ้าง?

สำหรับ เมนู อาหาร เด็ก 8 เดือน ควรเป็นอาหารที่ช่วยเสริมทั้งพัฒนาการและเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายของเด็ก ควรที่จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และทำออกมาในรูปแบบที่สามารถทานได้ง่าย

อย่างการทำให้อาหารมีเนื้อสัมผัสละเอียดหรือพอหยาบเพื่อให้เขาได้ฝึกทักษะการบดเคี้ยว ควบคู่กับการเรียนรู้รสชาติอาหารอื่นๆ นอกจากการดื่มนมอีกด้วย ซึ่งเราขอแนะนำเมนูอาหารสำหรับเด็ก 5 เมนู ดังต่อไปนี้

1. ข้าวผัดสารพัดประโยชน์

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • ข้าวหอมมะลิหุงสุก
  • ไข่ไก่
  • มะเขือเทศหั่นเต๋าชิ้นเล็กๆ
  • แครอทซอยเป็นลูกเต๋าชิ้นเล็กๆ
  • หอมหัวใหญ่ซอยละเอียด
  • แฮม/ไส้กรอก หั่นเต๋าชิ้นเล็กๆ
  • น้ำมันพืช

วิธีทำ

  1. เพียงแค่ตั้งกระทะด้วยไฟอ่อน
  2. นำน้ำมันพืชใส่ลงไปเล็กน้อยแค่พอติดกระทะ
  3. จากนั้นนำหอมซอยลงไปผัด
  4. พอหอมเริ่มสุกนำแครอทกับมะเขือเทศลงไปผัดด้วยกัน
  5. ตามด้วยตอกไข่กับแฮมใส่ลงไปแล้วพัดทุกอย่างจนสุกเข้ากัน 
  6. จากนั้นใส่ข้าวสวยลงไปคลุกให้เข้ากัน
  7. เมื่อส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันดีแล้วจึงปิดเตา โรยหน้าข้าวผัดด้วยต้นหอมซอย 

เพียงเท่านี้ก็ได้ข้าวผัดสารพัดประโยชน์แล้ว

2. สเต็กแซลมอนพร้อมผักสามสี

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • เนื้อแซลมอนพร้อมหนัง
  • บล็อกโคลี่/ดอกกระหล่ำ
  • ข้าวโพดอ่อน
  • แครอท
  • น้ำมันมะกอก/น้ำมันพืช

วิธีทำ

  1. ตั้งกระทะด้วยไฟกลาง นำน้ำมันมะกอกทาบนผิวกระทะพอเปียก
  2. เมื่อกระทะเริ่มร้อนนำเนื้อปลาแซลมอนย่างในกระทะจนสุก
  3. ส่วนแครอท ข้าวโพดอ่อน และดอกกระหล่ำหั่นเป็นชิ้นพอเหมาะที่ทารกสามารถถือเองได้ นำมานึ่งจนสุก
  4. จากนั้นบดเนื้อปลาพอหยาบให้เขาทานพร้อมกับผักนึ่งที่เตรียมไว้

เมนูนี้ นอกจากจะเป็นการฝึกให้เขาทานผักแล้วยังได้ฝึกพัฒนาการด้านการหยิบจับสิ่งของของเขาอีกด้วย

3. เกี๊ยวกุ้งในซุปสาหร่าย

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • แผ่นเกี๊ยว
  • เนื้อกุ้งบด/สับละเอียด
  • ไข่ไก่
  • แครอทฝานเป็นแว่นบางๆ ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งหั่นละเอียด
  • ผักกาดขาวหั่นก้านออก นำก้านผักกาดฉีกเป็นเส้นเล็กๆ
  • หัวไชเท้าหั่นแว่นไม่หนามากส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งหั่นละเอียด
  • สาหร่ายแห้งแบบฝอย
  • ต้นหอมซอย

วิธีทำ

  1. เริ่มจากการทำไส้เกี๊ยวก่อน โดยการนำเนื้อกุ้งบดละเอียดที่เตรียมไว้มาหมักกับ ไข่ไก่ แครอท และหัวไชเท้าหั่นละเอียด
  2. คลุกให้เข้ากันแล้วพักไว้
  3. จากนั้นเตรียมน้ำซุปด้วยการตั้งหม้อน้ำบนไฟกลาง
  4. เมื่อน้ำเริ่มร้อนใส่แครอทและหัวไชเท้าหั่นแว่นลงไป
  5. ระหว่างรอน้ำเดือดก็นำแผ่นเกี๊ยวมาห่อไส้ที่เตรียมเอาไว้
  6. เมื่อน้ำเดือดแล้วผ่อนไฟในเตาลง
  7. จากนั้นจึงใส่เกี๊ยวที่ห่อแล้วลงไป ตามด้วยผักกาดขาวที่เตรียมไว้ ปิดฝาหม้อรอจนเกี๊ยวสุก
  8. ปิดเตาแล้วใส่สาหร่ายกับหอมซอยตามลงไป

เท่านี้ก็ได้เกี๊ยวกุ้งในซุปสาหร่ายแสนอร่อยแล้ว

4. โจ๊กข้าวโพดท็อปปิ้งปูอัด

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • เมล็ดข้าวโพดหวานที่นึ่งจนสุกแล้ว
  • เนยจืด
  • ปูอัดสับแบบหยาบ
  • แครอทหั่นละเอียด
  • ต้นหอมซอย

วิธีทำ

  1. นำเมล็ดข้าวโพดที่เตรียมไว้มาปั่นจนละเอียด
  2. จากนั้นนำไปเคี้ยวบนเตาตั้งไฟอ่อน
  3. เคี้ยวจนเนื้อข้าวโพดเข้ากันเป็นเนื้อโจ๊ก
  4. จากนั้นนำปูอัดและแครอทที่เตรียมไว้ไปผัดในเนยจืด
  5. เมื่อเข้ากันแล้วนำมาเป็นท็อปปิ้งบนโจ๊กข้าวโพดที่เตรียมไว้
  6. แล้วจึงโรยด้วยต้นหอมซอย

เท่านี้ก็ได้โจ๊กข้าวโพดที่หอมหวานแบบไม่ต้องเติมน้ำตาลก็ให้พลังงานได้อย่างเต็มที่แล้ว

5. ซุปฟักทองสุดโปรด

วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

  • ฟักทองปลอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • แครอทหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • หอมหัวใหญ่ซอยละเอียด
  • เนยจืด/น้ำมันมะกอก
  • นมอัลมอนด์หรือนมจืด

วิธีทำ

  1. นำหอมซอยลงไปผัดในกระทะที่ตั้งไฟกลางแล้วทาด้วยน้ำมันมะกอกหรือเนยจืดจนสุก
  2. แล้วใส่แครอทและฟักทองที่หั่นเตรียมไว้ลงไป ผัดส่วนผสมให้สุกทั่วกัน
  3. จากนั้นปิดเตาและพักส่วนผสมไว้ให้อุณหภูมิลดลง
  4. แล้วจึงนำฟักทอง และแครอทที่ผัดจนสุกมาปั่นให้ละเอียด
  5. จากนั้นตั้งเตาเคี่ยวส่วนผสมที่ปั่นรวมกันอีกครั้งด้วยไฟอ่อน
  6. ใส่นมอัลมอนด์ที่เตรียมไว้ลงไป และเคี่ยวจนส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

เท่านี้ก็ได้ซุปฟักทองแสนอร่อยที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมายแล้ว

เมนู blw 8 เดือน อาหาร ที่ลูกกินเองได้

เมนู blw 8 เดือน หรือ อาหาร Baby-Led Weaning เป็นเมนูอาหารที่ทารกสามารถทานเองได้ทั้งแบบตักทานและใช้มือหยิบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารบดละเอียดหรือบดพอหยาบ เพื่อให้เขาได้ฝึกทักษะการเคี้ยวอาหาร หรือจะเป็นอาหารที่ถูกปรุงในรูปแบบที่เขาสามารถหยิบทานเองได้

นอกจากการฝึกเคี้ยวแล้วเขายังได้เสริมพัฒนาการเรื่องการควมคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณฝ่ามือให้สามารถหยิบจับสิ่งของได้คล่องขึ้นอีกด้วย เราขอแนะนำตัวอย่างอาหาร blw ที่ลูกกินเองได้ ดังนี้

  1. แครอทหั่นเป็นแท่งเล็กๆ นึ่งสุก
  2. บล็อกโคลี่ / ดอกกระหล่ำ หั่นเป็นชิ้นพอดีมือ นึ่งสุก
  3. ข้าวโพดอ่อนนึ่งสุก
  4. ถั่วฝักยาวนึ่งสุก
  5. ถั่วลันเตานึ่งสุก
  6. แตงกวาปอกเปลือก
  7. มะม่วงสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  8. มะละกอสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  9. แก้วมังกรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  10. ชมพูหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
เมนู blw 8 เดือน อาหาร ที่ลูกกินเองได้

เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 8 เดือน หากลูกน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์

เราสามารถสร้างสรรค์ เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 8 เดือน ใหม่ๆ โดยทำจาก เนย ชีส ถั่ว และไข่ หรือใช้วัตถุดิบต่างๆ ที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง มาใช้ในการประกอบอาหารในเมนูได้ รวมถึงจัดตารางการทานอาหารและปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับทารก เท่านี้ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับทารกได้แล้ว ซึ่งตัวอย่างเมนูเพิ่มน้ำหนักลูกน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ มีดังนี้

  1. พุดดิ้งเนยถั่วและกล้วยหอม
  2. คุกกี้เนยถั่ว
  3. อโวคาโดอบไข่ชีสลาวา
  4. อโวคาโดสมูทตี้
  5. มันฝรั่งอบชีส

เมนูปลาสําหรับทารก8เดือน

เมนูปลาสำหรับทารก8เดือน แนะนำให้ทานปลาที่มีโอเมก้า (Omega) สูง เช่น ปลาอินทรี ปลาแซลมอน และปลาทู เพราะกรดโอเมก้าเป็นกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกาย และร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ 

ดังนั้นการที่ให้ลูกน้อยได้ทานปลาที่มีกรดโอเมก้าเป็นส่วนประกอบ จะทำให้เขาสามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น ตัวอย่างเมนูปลาที่แนะนำ มีดังนี้

  1. ข้าวต้มปลาอินทรี
  2. สเต็กแซลมอน
  3. ปลาทูทอดคุกข้าว
  4. ปลาอิทรีผัดตั้งโอ๋
  5. ลาซานยาแซลมอน

เมนูข้าวบดอาหารให้ทารก 8-9 เดือน

ข้าวบดเมนูอาหารทารก 8 - 9 เดือน เป็นเมนูอาหารที่เราสามารถเสริมให้ทารกในวัยนี้ทานเพิ่มจากการดื่มนมได้ โดยให้เขาทานข้าวสวยบดประมาณ 2 – 3 ช้อนทานข้าว บดละเอียดพอให้เหลือสัมผัสหยาบเล็กน้อย เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการการเคี้ยวอาหารของทารกให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเมนูข้าวบดที่แนะนำ มีดังนี้

  1. ข้าวบดฝักทอง+ไข่ต้ม
  2. ข้าวบดกล้วยน้ำหว้า
  3. ข้าวบดผักสามสี
  4. ข้าวบดข้าวโพดโรยด้วยแฮมสับหยาบๆ
  5. ข้าวบดอกไก่นึ่ง

เมนูข้าวที่เหมาะกับเด็ก8เดือน

เมนูข้าวสำหรับเด็ก8เดือน สามารถให้เขาทานเพียงข้าวสวยบดที่ผสมเนื้อสัตว์หรือไข่ไก่ได้ หรือจะให้เขาเป็นเมนูข้าวผัดและข้าวต้มที่มีผักต่างๆ ผสมอยู่ด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารและเป็นการฝึกให้ทารกทานผักได้อีกด้วย ตัวอย่างเมนูข้าวที่แนะนำ มีดังนี้

  1. ข้าวผัดมะเขือเทศไข่ต้มหั่นชิ้นเล็กๆ
  2. ข้าวมันไก่+อกไก่สับ
  3. ข้าวตุ๋นขาหมูพะโล้

เมนูมันฝรั่งสำหรับทารก8เดือน

เมนูมันฝรั่งทารก8เดือน สามารถสร้างสรรค์อาหารจากมันฝรั่งที่เหมาะสำหรับทารกได้หลากหลายเลยทีเดียว นอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อยแล้ว ยังช่วยเสริมการฝึกทักษะการหยิบของให้กับทารกได้อีกด้วย ตัวอย่างเมนูมันฝรั่งที่แนะนำ มีดังนี้

  1. มันฝรั่งบดเนยหวาน
  2. มันฝรั่งอบชีส
  3. ซุปมันฝรั่ง
  4. มันฝรั่งทอดแบบเฟรนฟราย

เมนูปลาแซลมอน สําหรับลูกน้อย8เดือน

เมนูปลาแซลมอน สำหรับลูกน้อย8เดือน ควรเป็นปลาแซลมอนที่ปรุงสุกเท่านั้น เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่เหมาะที่จะทานอาหารดิบแม้จะเป็นปลาที่สามารถทานดิบได้ก็ตาม และเมนูที่ทำจากปลาแซลมอนที่เหมาะกับเด็กในวัยนี้คือ สเต็กปลาแซลมอน แซลมอนนึ่งมะนาว ข้าวผัดปลาแซลมอน และอีกหลายเมนูที่เด็กวัย 8 เดือนสามารถทานได้ ตัวอย่างเมนูปลาแซลมอนที่แนะนำ มีดังนี้

  1. ปลาแซลมอนย่างเกลือ
  2. ปลาแซลมอนอบชีส
  3. ปลาแซลมอนนึ่งซีอิ๊ว
  4. ปลาแซลมอนผัดผักสามสี
  5. ปลาแซลมอนเฟรนช์โทสชีสเยิ้ม

เมนูเต้าหู้ไข่ สําหรับลูกน้อย 8 เดือน

เมนูเต้าหู้ไข่ สำหรับลูกน้อย8เดือน เป็นอีกเมนูที่น่าสนใจ เพราะเต้าหู้ไข่เป็นอาหารที่ทานง่าย เหมาะกับทารกในวัยนี้ แต่ควรสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ทารกตักทานเองได้ เพื่อเป็นการฝึกให้เขาทานอาหารด้วยตัวเองได้ ตัวอย่างเมนูเต้าหู้ไข่ที่แนะนำ มีดังนี้

  1. ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ
  2. เต้าหู้ไข่ผัดหมูสับ
  3. เต้าหู้ไข่ทอดรอดซอยน้ำแดง
  4. เต้าหู้ไข่ผัดต้นหอม
  5. เต้าหู้ไข่ห่อผักกาด

เมนูไข่ สำหรับเด็ก8เดือน

เมนูไข่ สำหรับเด็ก8เดือน สามารถทำได้หลากหลายเมนูเลยทีเดียวทั้งเมนูของคาวและของหวาน หรือแม้แต่ไข่ต้มธรรมดาก็สามารถให้ลูกน้อยในวัย 8 เดือนทานได้ทั้งหมด แต่ควรจัดในปริมาณที่พอดี ซึ่งเด็กในวัยนี้ควรทานไข่แค่วันละฟอง

ดังนั้นทุกเมนูที่ทำให้เขาทานจึงมีควรปริมาณเทียบเท่าไข่ไก่แค่หนึ่งฟองเท่านั้น ซึ่งเราขอแนะนำตัวอย่างเมนูไข่ ดังนี้

  1. ไข่ตุ๋นไส้ผัก
  2. ออมเลตไข่ข้น
  3. โทสไข่ลาวาแฮมชีส
  4. ไข่ยัดไส้
  5. มักกะโรนีไข่ชีส
  6. ไข่หวานแบบญี่ปุ่น
  7. แพนเค้กไข่กล้วยหอม
  8. เครปไข่กล้วยหอม
  9. ทาร์ตไข่
  10. พุดดิ้งไข่เบอรรี่

เมนูข้าวโอ๊ต เหมาะกับเด็ก8เดือน

เมนูข้าวโอ๊ต เหมาะที่จะนำมาทำเป็นอาหารจานหลักและของทานเล่นให้เด็กๆ เป็นอย่างมาก เพราะข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบขับถ่ายให้เกิดความสมดุลได้อีกด้วย ตัวอย่างเมนูข้าวโอ๊ตที่แนะนำ มีดังนี้

  1. โจ๊กข้าวโอ๊ตกุ้งสับ
  2. ข้าวโอ๊ตตุ๋นอกไก่
  3. ซุปข้าวโอ๊ตใส่ฝักทองและข้าวโพดหวาน
  4. คุกกี้ข้าวโอ๊ตสูตรนุ่ม
  5. แครกเกอร์ข้าวโอ๊ตบางกรอบ

เมนูของทานเล่นสำหรับเด็ก8เดือน

เมนูของทานเล่นสำหรับเด็ก8เดือน ควรเป็นอาหารที่ทานง่ายไม่หนักท้อง อย่างพวกน้ำผลไม้ปั่น เพื่อช่วยในเรื่องของการขับถ่าย หรือขนมทานเล่นง่ายๆ ที่ทำจากธัญพืชและมันฝรั่งที่ไม่มีส่วนผสมของผงชูรส ให้เขาถือทานเองได้ เพื่อเป็นการฝึกพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือของเขาให้พัฒนาขึ้นอีกด้วย เราจะขอเมนูของทานเล่น ดังต่อไปนี้

  1. เฟรนฟรายจิ้มชีส
  2. คุกกี้เนยไข่หรือคุกกี้ธัญพืชสูตรนุ่ม
  3. สมูทตี้ผลไม้ที่ไม่ใส่น้ำเชื่อมและน้ำแข็งมากเกินไป
  4. ผลไม้หั่นชิ้นเล็กๆ
  5. ผักสามสีฝานบางๆ ทอดกรอบ

เด็ก8เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่า เด็ก8เดือน กินข้าวกี่มื้อ กันแน่ ซึ่งเราขอตอบในที่นี้ว่าเด็กควรได้กินข้าววันละ 2 มื้อ แต่ละมื้อต้องเป็นอาหารบดละเอียดหรือมีเนื้อสัมผัสหยาบเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เขาฝึกทักษะการเคี้ยวอาหาร และนอกจากอาหารบดละเอียดแล้วการให้เขาได้ลองหยิบอาหารทานด้วยตนเอง ก็สามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ทารกได้เช่นกัน

เด็ก8เดือน กินข้าวกี่มื้อ

ปริมาณอาหารทารก 8 เดือน เท่าไรที่ควรได้รับ?

ในเรื่อง ปริมาณอาหารทารก 8 เดือน ที่ควรได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 800 – 900 กิโลแคลอรี่/วัน โดยแบ่งจากการดื่มนมประมาณ 26 – 34 ออนซ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4 – 6 ครั้งต่อวัน และการทานอาหาร 2 มื้อ ซึ่งพลังงานจากการทานอาหารของทารกควรอยู่ที่ 300 – 400 กิโลแคลอรี่/วัน

ปริมาณอาหารทารก 8 เดือน เท่าไรที่ควรได้รับ

8 เดือน อาหารหยาบ เริ่มให้กินได้แล้วรึยัง? แล้วควรให้ทานอะไรดี?

สำหรับทารก 8 เดือน อาหารหยาบ สามารถให้ทานอาหารบดที่มีสัมผัสหยาบเล็กน้อยได้แล้ว เพื่อช่วยเสริมพัฒนาการการเคี้ยวอาหารของเขา และควรให้เขาทานเพียงอาหารอ่อนนุ่ม ที่สามารถเคี้ยวและย่อยได้ง่าย ซึ่งเด็กในวัยนี้สามารถทานผักที่มีกลิ่นฉุนบางอย่างได้แล้ว เช่น ต้นหอม ผักชี หรือออริกาโน เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกน้อยทานผักได้ง่ายขึ้น

ขนมปังเด็ก8เดือน ควรให้กินได้แล้วรึยัง? เพราะอะไร?

สำหรับ ขนมปังเด็ก8เดือน สามารถให้ทานได้แล้ว แต่ต้องเป็นกรณีที่เด็กไม่มีอาการแพ้แป้ง หรือธัญพืชบางอย่างที่เป็นส่วนผสมของขนมปัง เนื่องจากทารกบางคนอาจไม่ชอบทานข้าว คุณพ่อคุณแม่จึงอยากทำเมนูจากขนมปังง่ายๆ ให้ลูกทานแทน ซึ่งขนมปังก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงอย่างหนึ่ง จึงนิยมนำมาทำเป็นอาหารให้ทารกทาน แต่ต้องทำเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เขาสามารถหยิบทานเองได้

ขนมปังเด็ก8เดือน ควรให้กินได้แล้วรึยัง

ผักสําหรับทารก 8 เดือน ชนิดไหนบ้างที่ควรกิน?

ผักสำหรับทารก 8 เดือน ที่ควรกินคือ ผักใบเขียวที่มีใยอาหารสูง เพราะจะช่วยในเรื่องของการทำงานของระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลดปัญหาการท้องผูกในทารกอีกทั้งยังมีวิตามินที่ช่วยช่วยบำรุงสายตาได้อีกด้วย

นอกจากผักใบเขียวแล้วก็ควรให้ทารกทานผักที่มีสีส้มและสีเหลืองเช่นกัน เพราะนอกจากจะมีวิตามินที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของทารกได้อีกด้วย ซึ่งตัวอย่างผักที่ทารกควรทาน ได้แก่

  1. ผักบุ้ง
  2. ผักตำลึง
  3. ผักหวาน
  4. ผักโขม
  5. ผักกาดหอม
  6. บล็อกโคลี่
  7. แครอท
  8. ฟักทอง
  9. กระหล่ำปลีสีม่วง
  10. ถั่วลันเตา

ผลไม้สำหรับเด็ก8เดือน ชนิดไหนบ้างที่ควรกิน?

ผลไม้สำหรับเด็ก8เดือน ควรกิน คือ ผลไม้เนื้อนิ่มที่ทานง่าย หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พอให้เด็กสามารถถือทานเองได้ และควรเป็นผลไม้ที่เลาะเมล็ดออกจนหมด เพราะอาจติดคอเด็กขณะทานผลไม้ด้วยตัวเองได้ การให้ทารกทานผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายของเขาทำงานได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ผลไม้ที่มีวิตามินสูงยังมีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้ทารกได้อีกด้วย ซึ่งผลไม้ที่เด็กควรทาน ได้แก่

  1. กล้วยสุก
  2. มะม่วงสุก
  3. มะละกอสุก
  4. ส้ม
  5. แก้วมังกร
  6. อโวคาโด
  7. แอปเปิ้ล
  8. สตรอว์เบอร์รี
  9. ฝรั่ง
  10. กีวี่

แชร์ เมนูลูกเบื่ออาหาร8เดือน

สำหรับ เมนูลูกเบื่ออาหาร8เดือน เริ่มจากการทำให้มื้ออาหารของลูกน่าสนใจมากขึ้น คุณแม่อาจเลือกใช้วัตถุดิบที่มีสันสะดุดตาหรือทำอาหารเป็นรูปตัวการ์ตูนหรือสัตว์ต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกน้อย เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายไม่จำเจ และปล่อยให้เขาได้ลองทานอาหารด้วยตัวเอง จะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกอยากทานอาหารมากขึ้น เมนูที่ดึงดูดสำหรับลูกเบื่ออาหาร ได้แก่

  1. ข้าวผัดกุ้งกับผักสามสี
  2. เกี๊ยวน้ำสายรุ้ง
  3. ไข่ม้วนตัวการ์ตูน
  4. แพนเค้กรูปสัตว์น่ารัก
  5. มันฝรั่งอบชีสตกแต่งเป็นตัวการ์ตูน

หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในทารก 8 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าดูเนื้อหาหัวข้อนี้อย่างละเอียดได้ที่ : คู่มือ พัฒนาการ เด็ก 8 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!

ตาราง อาหารทารก 8 เดือน

ตาราง อาหารทารก 8 เดือน ตามคำแนะนำของนักโภชนาการ ควรแบ่งออกเป็น 2 มื้อ โดยแบ่งเป็น...

ตาราง อาหารทารก 8 เดือน

มื้อเช้า

จัดเป็น

  1. ข้าวสวยบดหยาบ 4 ช้อนทานข้าว
  2. เนื้อสัตว์ / เนื้อปลาสับละเอียด หรือไข่ต้มครึ่งฟอง
  3. ผักต้มหรือนึ่งหั่นละเอียดผสมลงในข้าว
  4. และหั่นเป็นแท่งยาวประมาณ 2 นิ้ว เพื่อให้ลูกน้อยสามารถถือทานเองได้

มื้อบ่าย

จัดเป็น

  1. ผลไม้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เขาหยิบทานเองได้
  2. หรือจะจัดเป็นน้ำผลไม้ให้เขาทานคู่กับขนมธัญพืชอบกรอบที่ไม่แข็งจนเกินไป
  3. หรือเปลี่ยนเป็นเค้กชิ้นเล็กๆ ก็ได้เช่นกัน เพื่อให้เขาได้ลองทานอาหารที่หลากหลายขึ้น

สรุป เมนูเด็ก 8 เดือน

เมนูเด็ก 8 เดือน ควรเป็นอาหารที่มีความหลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ซึ่งทารกในวัยนี้สามารถเริ่มทานอาหารที่มีกลิ่นฉุนเล็กน้อยได้แล้ว เราจึงควรเริ่มฝึกให้เขาทานผักที่มีกลิ่นฉุนบ่อยๆ เพื่อให้เขาชินกับการทานผัก ร่วมถึงควรฝึกให้เขาทานอาหารหลากหลายรสชาติ เพื่อเป็นการฝึกให้เขาทานอาหารได้ง่ายขึ้น เมื่อทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอจะทำให้ร่างกายของเขาเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง

แหล่งที่มา : Kapook , bloggang , pantip