ในช่วง พัฒนาการ ทารก 8 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น ของเล่นเสริมพัฒนาการ อาหารสำหรับเด็กกินอะไรได้บ้าง กินข้าวกี่มื้อ ตารางเวลาอาหาร น้ําหนักของเด็ก เพื่อที่จะได้รับมือปัญหาที่จะเข้ามา เช่น ลูกยังไม่คลาน มีกลิ่นปาก ท้องผูก มีน้ำมูก ไม่ดูดขวด ตื่นบ่อย กรี๊ด
นั้นเพราะว่าเมื่อทารกเข้าสู่วัยนี้ กล้ามเนื้อในส่วนแขน ขา หลัง และคอ ของเขาจะแข็งแรงมากพอที่จะเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง และเริ่มหยิบของเข้าปากได้เอง จึงทำให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลงจากพัฒนาการ ซึ่งในบทความนี้จะให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
พัฒนาการ ทารก 8 เดือน ด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาย ควรเป็นยังไง?
พัฒนาการทารก8เดือน ด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาย
- ควรที่จะลุกนั่งเองได้และคลานได้คล่องแล้ว
- น้ำหนักเด็กควรอยู่ที่ประมาณ 8-9 กิโลกรัม
- กระดูกแขนและขา ยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายได้แล้ว
- ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนจะเริ่มมีฟันขึ้นแล้ว
เพราะเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายเริ่มเข้าที่และแข็งแรงขึ้น มีความยืดหยุ่นสมวัย พร้อมสำหรับการเติบโตและการเคลื่อนไหว
นอกจากนี้แล้วยังมีพัฒนาการด้านอื่นๆอยู่อีก
คุณสามารถ Click เข้าไปดูเนื้อหาหัวข้อนี้อย่างละเอียดได้ที่ : คู่มือ พัฒนาการ เด็ก 8 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!
15 ของเล่นเสริมพัฒนาการ8เดือน เลือกชนิดไหนดี?
สำหรับ ของเล่นเสริมพัฒนาการ8เดือน ควรเป็นของเล่นที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มนิ่ม ไม่แข็งหรือมีเหลี่ยมคม มีสีสันสดใสดึงดูดความสนใจ และที่สำคัญต้องหมั่นทำความสะอาดของเล่นทุกชินของเขาอยู่เสมอ
เพราะเด็กวัยนี้กำลังเป็นวัยที่ชอบหยิบของเข้าปากเกือบตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจความสะอาดของใช้ทุกชิ้นของเขาให้ดี ซึ่งของเล่นที่จะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก มีดังนี้
- ลูกบอลผ้า
- ตุ๊กตาที่ทำจากผ้าหรือยัดนุ่นให้นิ่มๆ
- ของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
- หนังสือผ้าหรือนิทานลอยน้ำที่มีสีสันสดใส
- บล็อกรูปเลขาคณิต
- บล็อกยางรูปสัตว์
- กล่องเปิด-ปิดที่มีของหรือตัวการ์ตูนอยู่ด้านใน
- กล่องกลิ้งลูกแก้ว
- เป็ดยางอาบน้ำที่บีบแล้วมีเสียง
- รถเข็นช่วยเดินแบบที่ช่วยพยุงเขาได้ทั้งตัว
- รถลากที่เขาสามารถดึงไปมาแล้วเกิดเสียงได้
- ตุ๊กตาไขลาน
- ลูกบอลสไลด์เดอร์
- ห่วงสวมหลัก
- ยางกัด
อาหารสำหรับเด็ก 8 เดือน ทารก กินอะไรได้บ้าง?
สำหรับ อาหารสำหรับเด็ก 8 เดือน ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย บดหยาบ เพื่อฝึกทักษะการบดเคี้ยว ส่วนผักและผลไม้ที่มีหลากหลายรสชาติควรสับละเอียดเพื่อช่วยให้เขาทานได้ง่ายขึ้น และควรหั่นบางส่วนเป็นแท่งให้เขาสามารถฝึกถือทานเอง เพื่อเสริมพัฒนาการด้านการหยิบจับสิ่งของ และพัฒนาการด้านการฝึกเคี้ยวอาหาร อาหารที่เหมาะสำหรับทารกวัยนี้ มีดังต่อไปนี้
- ข้าวสวยบดหยาบ
- เนื้อสัตว์สับหรือบดพอหยาบ
- เนื้อปลาปรุงสุกสับละเอียด
- ไข่ต้ม
- ไข่ตุ๋นท็อปปิ้งผักสับ
- ผักใบเขียวที่สามารถทานสดได้และมีกลิ่นไม่ฉุนเกินไป
- แครอทต้มหรือนึ่งจนสุก
- ฝักทองนึ่งแบบปลอกเปลือก
- ถั่วฝักยาวต้มสุก
- แตงกวา
- มะละกอสุก
- ส้ม
- มะม่วงสุก
- กล้วยน้ำหว้าหรือกล้วยหอมสุก
- แตงโม
เมนูชีส สำหรับทารก8เดือน
นอกจากข้าว ผัก และผลไม้ เรายังสามารถเสริมพวก เมนูชีส ที่ทำจากนมวัวในมื้ออาหารให้เด็กทาน เพื่อเพิ่มน้ำหนักและคุณค่าทางโภชนาการให้ลูกได้อีกด้วย โดยควรแบ่งทานครั้งละน้อย ๆ และสังเกตว่าเด็กเกิดอาการแพ้รึเปล่า ซึ่งเด็กที่แพ้นมวัว ก็อาจจะแพ้ชีสได้เช่นกัน เราขอแนะนำเมนูชีส ดังนี้
- ข้าวผัดไส้กรอกชีส
- นักเก็ตชีสฟองดูว์
- ชีสบอล
- มะกะโลนีชีสแฮม
- แซนวิชแฮมชีสลาวา
ทารก8เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?
เมื่อลูกน้อยถึงวัยที่ต้องทานข้าวแล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจสงสัยว่า ทารก8เดือน กินข้าวกี่มื้อ กันแน่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กจะทานข้าว 2 มื้อต่อวัน
เนื่องจากเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สารอาหารจากนมแม่หรือนมอื่นๆ อาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเขา
ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มมื้ออาหารเสริมเข้ามาเพื่อช่วยให้ร่างกายของเขาได้รับสารอาหารครบถ้วนและเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
ตารางเวลาอาหารทารก8เดือน
ตารางเวลาอาหารของทารก8เดือน ตามคำแนะนำของนักโภชนาการ คือ จะแบ่งออกเป็น 2 มื้อ ช่วงเช้าและช่วงบ่าย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ตารางมื้อเช้า
- ข้าวสวยบดหยาบ 4 ช้อนทานข้าว
- เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาบดละเอียด 1 ช้อน
- ผักต้มสุกสับละเอียด 1 ช้อน
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
- หากเป็นเมนูชีสควรแบ่งให้เขาทานเพียง 4 ช้อนทานข้าว
ตารางมื้อบ่าย
- ผลไม้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 3 ชิ้น
- หรือเปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ปริมาณ 2 ออนซ์
โดยมื้ออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์สามารถเปลี่ยนเป็นไข่ต้มครึ่งฟอง เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเมนูอาหารให้เขาได้
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนู อาหารเด็ก 8 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก8เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน?
ลูก8เดือนยังไม่คลาน ปกติไหม? ทำยังไงดี?
การที่ ลูก8เดือนยังไม่คลาน ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ เพราะในเด็กบางคนอาจข้ามขั้นพัฒนาการจากการคลานไปเป็นการนั่ง ยืน และฝึกเดินได้เลย
สิ่งสำคัญ คือ เราควรสังเกตที่สาเหตุหรือปัจจัยอื่นร่วมด้วยว่าเหตุใดเขาจึงไม่อยากเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง เช่น
- การที่ลูกไม่ยอมคลานอาจเกิดจากการที่มีคนอุ้มเขาบ่อยเกินไป ทำให้ทารกติดมือและไม่ยอมจะเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง
- ไม่ยอมคลานจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยสังเกตง่ายๆ จากการที่คุณช่วยให้เขาอยู่ในท่าพร้อมคลานแต่เขางอแงและไม่เคลื่อนไหว หรือไม่สามารถทรงตัวได้เองเป็นเวลานาน
ทารก8เดือน น้ําหนัก ควรหนักอย่างต่ำเท่าไร?
น้ำหนักของ ทารก8เดือน ทั้งสองเพศควรมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 8 – 9 กิโลกรัม หรือในทารกบางคนอาจมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าวอยู่เล็กน้อย
เราสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักให้เขาได้จากเมนูอาหารเสริมต่างๆ โดยเพิ่มจากเมนูหลักเป็นของว่างมื้อเล็กๆ ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อย
ทารก8เดือน มีกลิ่น ปาก ทำอย่างไรดี?
ทารก8เดือน มีกลิ่นปาก ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในวัยของเขาเริ่มทานอาหารได้หลากหลายและทารกบางคนก็เริ่มมีฟันงอกออกมาแล้ว ดังนั้นจึงอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากได้ง่าย
โดยเราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นแล้วถูเบาๆ บนเหงือกและลิ้นของเขา หรือการให้เขากัดยางกัดก็สามารถช่วยให้แบคทีเรียบนเหงือกและลิ้นหลุดออกได้เช่นกัน
ทารก8เดือน ท้องผูก รับมือยังไง?
ทารก8เดือนท้องผูก สามารถรับมือได้ไม่ยาก ด้วยการเพิ่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้ที่ไม่มีกลิ่นฉุน หรือรสจัดจนเกินไป และควรเป็นผักหรือผลไม้ ที่มีใยอาหารสูงเพื่อช่วยในการทำงานของลำไส้ หรือเพิ่มผักใบเขียวที่มีกากใยอาหารสูงลงในอาหารมื้อหลักของเขาก็สามารถช่วยเรื่องอาการท้องผูกของเขาได้
เด็ก8เดือนมีน้ำมูก แก้ยังไงดี?
หาก เด็ก8เดือนมีน้ำมูก หรือเป็นหวัดและมีอาการคัดจมูก เราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
หรือหากมีน้ำมูกมากก็สามารถซื้อยาลดน้ำมูกสำหรับเด็กทารกตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชได้
แต่หากเด็กมีไข้ร่วมด้วยแนะนำให้พบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
ลูก8เดือนไม่ดูดขวด ติดนมแม่ รับมือยังไง?
ลูก8เดือนไม่ยอมดูดขวดนม แต่ติดนมแม่รับมือได้ไม่ยาก ด้วยการฝึกให้เขาดื่มนมจากขวดหรือดูดจุกยางสลับกับการดื่มนมจากเต้าบ่อยๆ ระหว่างที่ให้ทารกลองดื่มนมจากขวดควรหาตุ๊กมือใส่มือเขาไว้เพื่อให้เขารู้สึกว่าได้สัมผัสกับอกของแม่อยู่ตลอดเวลา
วิธีแก้ ทารก8เดือน ตื่นบ่อย ทำแบบนี้
วิธีแก้ ทารก8เดือน ตื่นบ่อย มีดังต่อไปนี้
- ทำให้เขาแยกกลางวันและกลางคืนออก โดยการปลุกเขาให้ตื่นในตอนเช้า เปิดประตูหน้าต่างให้มีแสงสว่างที่เพียงพอ เปิดเพลงและทำกิจวัตรที่มีเสียงตามปกติเพื่อให้เขารู้ว่ากลางวันคือช่วงที่ควรตื่นมาเล่นและใช้เสียง แต่เมื่อถึงเวลาเข้านอนควรทำห้องให้มืดและสงบเพื่อให้เขาเข้าสู่การนอนและลดการตื่นตัวในเวลากลางคืน
- เปิดเพลงบรรเลงสำหรับทารก เพื่อให้เขาเข้าสู่การนอนหลับแบบผ่อนคลาย
- ไม่ควรเปิดไฟสว่างทันทีเมื่อเขาร้องไห้เบาๆ ในเวลากลางคืน เพราะนั้นอาจเกิดจากการละเมอของเด็กเพียงเท่านั้น หากคุณเปิดไฟสว่างทันทีอาจทำให้เขาตกใจและตื่นขึ้นมาก็เป็นได้
ทารก8เดือนไม่กินข้าว ปัญหาเด็กเล็กที่แก้ไขได้
ทารก8เดือนไม่กินข้าว หรือทานอาหารได้ยากเป็นปัญหาเด็กเล็กที่แก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการเสริมมื้ออาหารของเขาในแต่ละวัน ให้มีความหลากหลายทั้งทางรสชาติและสีสัน
เนื่องจากทารกบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับอาหารที่มีรสชาติหรือกลิ่นที่แปลกใหม่ ดังนั้นเราจึงควรฝึกให้เขาได้ทานอาหารหลากหลายในแต่ละมื้อ
ทารก8เดือน กรี๊ด เราควรทำตัวยังไงดี?
หาก ทารก8เดือน กรี๊ด เสียงดัง เราสามารถแก้ไขได้ด้วยความเงียบและสังเกต เนื่องจากเขาไม่สามารถสื่อสารกับเราเป็นคำพูดได้ จึงแสดงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจ
ดังนั้นเราจึงควรสังเกตว่าเขาต้องการสิ่งใดจึงทำพฤติกรรมแบบนั้น และไม่ควรตอบสนองความต้องการของเขาในทันที
เพราะเขาจะเข้าใจว่าการที่เขากรีดร้องจะทำให้เราตอบสนองความต้องการของเขา ควรนิ่งและพูดกับเขาว่าไม่ควรทำ เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจเหตุผลแต่เขาจะหยุดและเริ่มต้นเรียนรู้การสื่อสารด้วยวิธีอื่นต่อไป
สรุป
เด็กทารก8เดือน เป็นช่วงที่เด็กกำลังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและพัฒนาการต่างๆ ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากพัฒนาการของเด็กในวัยนี้จึงเป็นอุบัติเหตุจากการเล่นซนและเคลื่อนไหว
ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจในการเตรียมความพร้อมของพื้นที่สำหรับการเคลื่อนไหวของเขา ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรือของที่อาจทำให้เขาบาดเจ็บจากการล้มใส่หรือของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการที่เขาหยิบเข้าปากเองได้
ในด้านของโภชนาการเราควรดูแลให้ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อพร้อมสำหรับการเจริญเติบโตทางร่างกายที่แข็งแรงต่อไป
แหล่งที่มา : sanook , babytoddlers