พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน

คู่มือ【 พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน 】สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!

เมื่อทารกมีอายุ 5-6 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็น พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน ได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการกิน นอน การแสดงออกต่างๆ จึงต้องรู้ว่าอาหาร ลูก กินอะไรได้บ้าง กินข้าวกี่มื้อ กินกี่ออนซ์ วิธีเพิ่มน้ำหนัก เมื่อตกเกณฑ์ไม่ขึ้น วิธีรับมือเมื่อเด็กงอแงมาก อีกทั้งยังต้องมีตารางเลี้ยงลูกในวัยนี้อีกด้วย

บทความนี้จะเป็นคู่มือ ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก 5เดือน ที่จะก้าวสู่วัย 6 เดือน โดยจะอธิบายให้ทราบว่าเด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดู เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ ได้เตรียมตัวและเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องอีกด้วย


Table Of Contents

รอบรู้เรื่อง พัฒนาการ เด็ก 5 เดือน

เมื่อทารกเข้าสู่วัย 5-6 เดือน เราจะเริ่มสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในพัฒนาการเด็ก 5เดือน ด้านต่างๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับช่วงอายุก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าทารกอายุ 5เดือนเลี้ยงง่ายกว่า เพราะพวกเขาจะกินและนอนเป็นเวลามากขึ้น มาดูกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทารก 5-6 เดือน ด้านสังคมและอารมณ์

เมื่อเข้าสู่ช่วง พัฒนาการทารก 5-6 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นได้ว่าลูกน้อยจะเริ่มมีอาการงอแง และเริ่มติดพ่อติดแม่มากขึ้น หากปล่อยให้เขาอยู่กับคนแปลกหน้าก็จะเริ่มมีอาการงอแงและร้องไห้ ในขณะเดียวกันถ้าเขาอารมณ์ดีก็จะหัวเราะมากขึ้นด้วย

พัฒนาการทารก 5-6 เดือน

พัฒนาการ 5 เดือน ด้านภาษาและการสื่อสาร

เด็กในวัยนี้จะเริ่มมี พัฒนาการ 5 เดือน ในด้านสมอง ซึ่งทำให้เขาสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ที่ชอบฝึกให้ลูกน้อยเรียกชื่อพ่อแม่ หรือพูดคำต่างๆ เขาก็จะเริ่มจดจำและพูดตามได้

ทารก 5 เดือน พัฒนาการ ด้านสมอง

เด็กทารกวัย 5เดือน จะเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้แล้ว ทำให้แยกได้ว่าคนไหนที่เป็นพ่อแม่ และคนไหนคือคนแปลกหน้า นอกจากนี้เขาจะเริ่มสังเกตสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบข้างด้วย ในกรณีที่อยู่ในสถานที่ที่แปลกตาและยังไม่คุ้นชินก็จะมองไปรอบๆ ช่วงนี้จะเหมาะกับการฝึกให้ลูกน้อยได้เรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ

พัฒนาการของเด็ก 5 เดือน ด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาย

สำหรับเด็กในวัยห้าเดือน จะยังไม่สามารถคลานได้เต็มที่ แต่เราจะสามารถสังเกตพัฒนาการการเคลื่อนไหวของเด็กได้ผ่านการนอนคว่ำและการทำท่าร่อนบิน หรือแม้แต่การยกหน้าอกและศีรษะได้สูงขึ้น , การยกนิ้วเท้ามาดูดอม ซึ่งเมื่อเด็กถูกยกตัวขึ้นก็จะเกิดการขย่มตัว และสามารถนั่งพิงได้นานถึง 30 นาที

พัฒนาการลูก 5 เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ

เนื่องจากเด็กทารกวัยห้าเดือน จะค่อนข้างห่วงกินจนอาจทำให้กินนมได้น้อยลง ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้อาหารเสริมแก่ลูกน้อยเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

ทารก 5 เดือน กินอะไรได้บ้าง ?

สำหรับในเรื่อง ทารก 5 เดือน กินอะไรได้บ้าง นั้น ต้องบอกว่าเด็กในวัยนี้ยังมีความบอบบางอยู่ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จึงควรใส่ใจในเรื่องอาหารการกินให้มาก เพื่อให้ลูกน้อยกินอาหารที่เหมาะสมตามวัย และได้รับสารอาหารที่สำคัญอย่างเพียงพอด้วย แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะให้อาหารลูกน้อย ก็ควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งด้วย มาดูกันว่ามีอาหารจำพวกใดบ้างที่เด็กวัยนี้สามารถกินได้

  1. นมแม่ ถือเป็นน้ำนมที่ดีที่สุดที่ลูกน้อยควรได้รับ เพราะมีสารอาหารครบถ้วน สามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีภูมิคุ้มกันในการต้านโรค และมีฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย
  2. นมผงสำหรับเด็กทารก จะมีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุ ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายของทารกได้ อีกทั้งยังมีน้ำตาลแลคโตสที่ช่วยสร้างเซลล์สมอง นอกจากนี้ยังมีสารอาหารสำคัญอย่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจะช่วยสร้างโครงกระดูกและฟันให้กับทารกวัยห้าเดือนด้วย
  3. ข้าวบดละเอียด มักใช้ข้าวกล้องและข้าวหอมมะลิ เพราะมีสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการบำรุงสมองและสายตา โดยรสชาติของข้าวบดละเอียดนั้นควรเป็นรสแบบธรรมชาติ ไม่ใส่ส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือ รวมถึงส่วนผสมอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้
  4. ไข่ต้ม เป็นอาหารที่มีโปรตีนและกรดไขมันจำเป็น ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง นอกจากนี้ยังมีสารอาหารสำคัญอีกมากมาย เช่น ไบโอติน ธาตุเหล็ก และวิตามิน เป็นต้น
  5. เนื้อสัตว์บด เช่น เนื้อหมูบด เนื้อไก่บด ปลาช่อนบด หรือตับบด อาหารจำพวกนี้จะมีทั้งโปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และสารอาหารหลากหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายของทารกวัย 5 เดือน ซึ่งสารอาหารดังกล่าวจะช่วยบำรุงระบบประสาทและสมองให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
  6. ผักสุกบดละเอียด เช่น ฟักทองบด แครอทบด ถั่วลันเตาบด ตำลึงบด ผักกาดขาว ดอกกะหล่ำ มะเขือเทศ เป็นต้น อาหารเหล่านี้จะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ อีกทั้งยังมีโปรตีนและแคลเซียมที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกวัยห้าเดือนมีร่างกายที่แข็งแรง
  7. ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ผลไม้ประเภทนี้จะให้วิตามินสูงมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แถมยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่น ส้ม มะละกอสุก แตงโม กล้วยน้ำว้า อะโวคาโด แอปเปิ้ลบด
ทารก 5 เดือน กินอะไรได้บ้าง

ลูก 5 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ให้เพียงพอต่อร่างกาย ?

สำหรับคำถามที่ว่า ลูก 5 เดือน กินข้าวกี่มื้อ นั้น โดยปกติแล้วในช่วงก่อนวัยเด็ก 5 เดือน คุณแม่มักจะให้ลูกน้อยกินนมมาโดยตลอด แต่เมื่อเข้าสู่วัย 5เดือน เราสามารถให้อาหารเสริมกับลูกน้อยวันละ 1 มื้อ ยกเว้นในกรณีที่เด็กได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ หรือเด็กไม่ยอมกินนมวัว ควรเพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ

สำหรับเด็กทารกวัยห้าเดือน ที่พ่อแม่เริ่มหัดให้กินอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 เดือน จากเดิมที่ให้อาหารเสริมเพียงแค่ 1 มื้อต่อวัน ควรเพิ่มเป็นวันละ 2 มื้อ เพราะในช่วงวัยเด็ก 5เดือนนี้ จะเริ่มมีการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงควรเพิ่มปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของทารกให้เพียงพอ

เมื่อทราบแล้วว่าจะให้อาหารเสริมกับลูกน้อยวัย 5 เดือนกี่มื้อ คราวนี้ก็มาดูในส่วนของเวลาหรือมื้ออาหาร โดยส่วนใหญ่อาจให้อาหารเสริมในมื้อเช้า แต่จริงๆ แล้วสามารถให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมก่อนนมในมื้อใดมื้อหนึ่งก็ได้ โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ทารกกินอาหารเสริมในช่วง 10 นาฬิกา 

ลูก 5 เดือน กินข้าวกี่มื้อ

ลูก 5 เดือน กินกี่ออนซ์ ?

เด็กทารกที่อยู่ในช่วงจะเข้าสู่วัย 5 เดือน มักจะมีพฤติกรรมที่ห่วงกิน จึงส่งผลให้กินนมได้น้อยลง เพราะฉะนั้นควรควบคุมปริมาณการให้นมลูกอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่ร่างกายของเด็กวัยห้าเดือนควรจะได้รับ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย และมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ดีขึ้น

ดังนั้นคุณแม่จึงสามารถให้ลูกวัย 5 เดือน กินนมได้มากถึง 24 ออนซ์ หรือปริมาณ 720 ซีซีต่อวัน บวกลบ 4 ออนซ์ หรือ 120 ซีซี ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กทารกวัย 5-6 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตและกำลังเข้าสู่วัยเรียนรู้

นอกจากให้ทารกกินนมผงแล้ว ยังควรให้อาหารเสริมกับลูกน้อยวัยห้าเดือน ด้วยการผสมข้าวโอ๊ตหรือซีเรียลลงไปในนม เพื่อให้ลูกน้อยได้ลองลิ้มรสอาหารอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนมผง เพื่อให้เกิดความคุ้นชินก่อนที่จะเริ่มให้กินอาหารเสริมแบบเต็มที่ ทั้งยังจะช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับลูกอีกด้วย

ลูก5เดือน น้ำหนักตกเกณฑ์ น้ำหนักไม่ขึ้น ควรทำไงดี ?

โดยปกติแล้วเมื่อเข้าสู่ช่วงพัฒนาการเด็ก 5 เดือน ทารกจะเริ่มมีการเจริญเติบโตที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด เพราะร่างกายจะดูมีเนื้อมีหนังและโตมากขึ้น แต่ก็มีเด็กบางคนที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ หรือน้ำหนักตกเกณฑ์ตามมาตรฐาน มาดูกันว่าจะสามารถทำอย่างไรให้น้ำหนักตรงเกณฑ์กันได้บ้าง

  1. กินนมผงสำหรับเพิ่มน้ำหนัก หากลูกน้อยมีน้ำหนักตกเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้นมผงเป็นตัวช่วยได้ โดยให้เลือกนมผงที่เป็นสูตรเพิ่มน้ำหนักทารกโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกน้อยได้ดี เพราะนมผงจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก
  2. ให้ทานอาหารบ่อยขึ้น ในช่วงวัยทารกห้าเดือน เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าหากพบว่าลูกน้อยมีน้ำหนักคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นเลย สามารถเพิ่มปริมาณอาหารให้กับลูกได้ แต่อาหารนั้นจะต้องเหมาะสมกับวัย และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตด้วย
  3. ให้ลูกทานอาหารที่เหมาะสม พ่อแม่บางคนอาจให้ลูกทานอาหารมากขึ้นแล้วแต่น้ำหนักก็ไม่เพิ่มขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าอาหารที่ลูกได้รับอาจไม่เหมาะสม หรือมีสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารก ดังนั้นควรเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
  4. นอนเป็นเวลา การนอนก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้การกินเลย โดยเฉพาะในช่วงที่เข้าสู่วัย 5 เดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา และต้องนอนให้ได้ประมาณ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งการนอนในตอนกลางวัน 3-4 ชั่วโมง และตอนกลางคืนอีก 10-11 ชั่วโมง
  5. นวดให้ลูก เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สามารถช่วยกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการอยากอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้ออีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยทำให้น้ำหนักลูกเพิ่มขึ้นได้

วิธีเพิ่มน้ำหนักลูก 5 เดือน เมื่อลูกน้อยน้ำหนักไม่ขึ้น

เมื่อใช้ วิธีเพิ่มน้ำหนักลูก 5 เดือน เพื่อช่วยให้ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้ผล อีกหนึ่งวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ก็คือการให้ทานอาหารที่เหมาะสม เพราะเด็กบางคนอาจได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกาย จึงส่งผลให้น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น มาดูกันว่ามีอาหารจำพวกใดบ้างที่สามารถเพิ่มน้ำหนักให้ลูกได้

วิธีเพิ่มน้ำหนักลูก 5 เดือน

อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 5 เดือน

  1. เนยถั่ว ตัวเลือกที่สามารถเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกน้อยได้ ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกวัย สามารถเพิ่มเนยถั่วเข้าไปในมื้ออาหารได้
  2. โยเกิร์ต เป็นอาหารที่สามารถทานได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการอะไรเพิ่มเติม แต่ขอแนะนำให้เลือกโยเกิร์ตรสดั้งเดิมที่ไม่มีการตัดน้ำตาลหรือลดไขมัน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารในโยเกิร์ตได้อย่างเต็มที่
  3. กล้วย นำมาบดและให้ลูกน้อยทานได้ง่ายๆ ซึ่งสามารถให้ทั้งเด็กที่ยังไม่มีฟันและเด็กที่มีฟันแล้วทานได้ ในกล้วยจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก จึงสามารถช่วยเพิ่มน้ำหนักเด็กวัยห้าเดือนได้ แต่ก่อนที่จะนำกล้วยมาบดให้ลูกน้อยรับประทานนั้น ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  4. อะโวคาโด ถือเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอ่อน สามารถนำมาบดและให้ลูกน้อยทานได้ เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กทารก

10 สาเหตุที่ทำให้ ลูก5เดือนงอแงมาก และวิธีรับมือ

ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ ลูก5เดือนงอแงมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยนี้จะสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมลูกได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะช่วงนี้จะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคม จึงเริ่มมีอาการงอแง มาดูกันว่าเราจะมีวิธีการรับมือกันได้ยังไงบ้าง

  1. กินมากเกินไปจนทำให้ไม่สบายตัว เมื่อมีอาการแน่นท้องก็จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด จนทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งสามารถใช้วิธีกล่อมให้นอนหลับได้ และในครั้งต่อไปก็ควรจะปรับปริมาณทั้งนมและอาหารไม่ให้มากเกินไป
  2. แพ้อาหารที่แม่กิน ในกรณีที่ลูกกินนมแม่ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพ้อาหารจากนมแม่ได้ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจส่งผลให้ลูกมีอาการแพ้จนงอแงได้ เมื่อรู้ว่าลูกแพ้อาหารที่แม่กินแล้วก็ควรหยุดให้นมลูก และหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารดังกล่าวด้วย
  3. บรรยากาศไม่ดี ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกนอนไม่หลับจนรู้สึกงอแงมาก แนะนำให้พาลูกไปนอนในบริเวณที่มีความเงียบสงบ ไร้เสียงรบกวน หรือจะใช้วิธีการเปิดเสียง White Noise แบบเบาๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยก็ได้เช่นกัน
  4. มีอาการหิว ลองสังเกตดูว่าลูกน้อยได้รับอาหารในแต่ละมื้อที่เพียงพอแล้วหรือยัง หากพบว่าลูกร้องเป็นจังหวะด้วยเสียงต่ำแบบสั้นๆ และลิ้นดุนปาก หรือในเด็กบางคนอาจดูดกำปั้นตัวเอง นั่นเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าลูกกำลังหิว หากไม่ได้กินนมหรืออาหารก็จะมีอาการงอแง ดังนั้นควรรีบหานมหรืออาหารให้ลูกกิน
  5. มีการปัสสาวะหรือขับถ่ายจนผ้าอ้อมเปียก ในเด็กบางคนอาจจะทนไม่ได้ที่ต้องอยู่กับผ้าอ้อมที่เปียกแฉะจากปัสสาวะและอุจจาระของตัวเอง เพราะรู้สึกอึดอัดจนทำให้ไม่สบายตัว ในกรณีนี้เราสามารถเลือกใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าแทนผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกตัวได้เร็วขึ้นเมื่อผ้าอ้อมเปียก
  6. เจ็บเหงือก โดยปกติแล้วลูกน้อยอายุ 5 เดือน จะเริ่มมีฟันขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บเหงือกได้ อาจร้องไห้และงอแงได้ง่ายขึ้น สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ด้วยการนวดเหงือกให้ลูกเบาๆ หรือหาของเย็นๆ มาให้ลูกกัดก็ได้เช่นกัน
  7. มีอาการเจ็บป่วย ถือเป็นเรื่องปกติที่เวลาเด็กมีอาการเจ็บป่วยแล้วจะร้องไห้และงอแงบ่อยมากกว่าปกติ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตว่าลูกมีอาการผิดปกติหรือไม่ ถ้าหากอาการเจ็บป่วยไม่ได้รุนแรงก็สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ แต่ถ้าอาการค่อนข้างหนักก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
  8. มีอาการโคลิก มักพบในทารกที่มีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไปจนถึง 3 เดือน โดยเด็กจะร้องไห้หนักมาก เสียงร้องจะดังแหลม และร้องนานกว่าปกติในช่วงเวลาเดิมเป็นประจำ สามารถอุ้มลูกแล้วโยกไปมาแบบเบาๆ หรือนั่งโยกตัวบนเก้าอี้ หรือจะอุ้มลูกแล้วเดินไปรับบรรยากาศใหม่ๆ ก็ได้เช่นกัน
  9. เรียกร้องความสนใจ เด็กทารกมักจะรู้สึกกลัวเมื่อต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากลูกของคุณร้องไห้และงอแงเพื่อเรียกร้องความสนใจ ควรให้เวลากับลูกมากขึ้น โดยอาจจะชวนเขาพูดคุย หยอกล้อ หรือจะร้องเพลงเพื่อกล่อมให้ลูกนอนหลับก็ได้
  10. เป็นธรรมชาติของเด็กแต่ละคน การที่เด็กงอแงนั้นอาจเกิดจากความรู้สึกของตัวเด็กเอง ซึ่งพ่อแม่อาจจะไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะบอกว่าเด็กมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ โดยมักจะมีการดิ้นไปมาและไม่ยอมหลับยอมนอน พ่อแม่อาจต้องร้องเพลงกล่อมลูกก่อนนอนทุกครั้ง

หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในเด็ก 5 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่
: คู่มือแก้ปัญหาจาก พัฒนาการ ทารก 5 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่!!

ตารางเลี้ยงลูก5เดือน ในการให้นมและอาหาร

เด็กในช่วงวัย 5เดือน เป็นวัยที่กำลังอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตที่ดี ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ความสำคัญต่ออาหารการกิน รวมไปถึงการให้นม ควรให้เป็นเวลาและปริมาณที่เหมาะสม วันนี้เราก็มีตารางในการให้นมและอาหารเด็กวัยห้าเดือนมาฝากกันแล้ว

ตารางให้นมลูกน้อย5เดือน

  • วิธีการให้นมลูกน้อยวัย 5เดือน สามารถให้ลูกกินนมได้มากถึง 24 ออนซ์ หรือ 720 ซีซีต่อวัน เมื่อบวกลบแล้วจะอยู่ที่ 4 ออนซ์ หรือ 120 ซีซี
  • พยายามให้ลูกกินนมให้ได้ตามปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อวัน ใน 1 วัน สามารถป้อนนมลูก 5 ครั้ง โดยกำหนดการป้อนนมเป็นเวลา 05.00, 10.00, 14.00, 19.00 และ 24.00 น.

ตารางให้อาหารลูกน้อย5เดือน

  • สำหรับ เด็กวัยห้าเดือน จะเริ่มมีพัฒนาการในด้านต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นหากลูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ก็ควรให้อาหารเสริมเพิ่มวันละ 1-2 มื้อ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและปริมาณการให้นมลูก
  • ซึ่งวิธีการให้อาหารลูกน้อยวัย 5เดือน ควรให้มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ
  • ส่วนเวลาในการป้อนอาหารให้กับลูกน้อยวัยนี้ สามารถให้ในมื้อเช้าเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป

สรุป

พัฒนาการทารก 5-6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดูเด็กในวัยนี้จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะนอกจากร่างกายจะมีการเจริญเติบโตขึ้นแล้ว พัฒนาการในด้านต่างๆ ก็จะดีขึ้นด้วย และเป็นช่วงที่พ่อแม่ควรจะใส่ใจทั้งในเรื่องการกิน การนอน และการเรียนรู้มากเป็นพิเศษ

เมื่อได้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กในวัยห้าเดือน พร้อมทั้งวิธีการเลี้ยงดูแล้ว เราหวังว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนจะสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกได้ไม่มากก็น้อย สำหรับลูกน้อยที่มีอายุต่ำกว่า 5เดือน ก็สามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลในบทความนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่ลูกน้อยจะก้าวเข้าสู่วัย 5เดือนได้เช่นเดียวกัน

แหล่งที่มา : S-mom , synphaet , koko