เมื่อลูกเข้าสู่ พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน หรือตอนที่ทารกอายุ 6-7 เดือน เป็นช่วงที่ควรเริ่มให้ของเล่นเสริมพัฒนาการได้แล้ว และคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เรื่อง เด็กหกเดือนกินผลไม้อะไรได้บ้าง ต้องกินข้าวกี่มื้อตอนกี่โมง อีกทั้งยังต้องรับมือกับปัญหาให้เป็น เช่น ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุตอนกลางคืน ชอบกระโดด กรี๊ด งอแงผิดปกติ น้ำหนักไม่ขึ้นเกิน 8 โล ต้องทำยังไง และอื่นๆ
นั้นเพราะเด็กในวัยนี้จะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น โดยจะมีการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ จากเสียงและภาพที่เห็น ทำให้เกิดจากความเปลี่ยนแปลงไปของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก รวมถึงความสามารถต่าง ๆ จนเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือให้ดี
รอบรู้เรื่อง พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน
สำหรับ พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน จะมีน้ำหนักและส่วนสูงจะเพิ่มขึ้น และนอกจากพัฒนาการด้านร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว พัฒนาการด้านอื่น ๆ ก็จะดีขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการด้านสมอง รวมถึงพัฒนาการด้านอาหารและโภชนาการ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องใส่ใจลูกมากเป็นพิเศษ
พัฒนาการทารก 6-7 เดือน ด้านร่างกาย
- ช่วง พัฒนาการทารก 6-7 เดือน จะสามารถพลิกตัวไปมาทั้งสองด้านได้อย่างง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนคอและหลังมีความแข็งแรงมากขึ้น
- สามารถนอนได้หลายท่ามากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง ท่านอนคว่ำ หรือแม้แต่ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอ
- จะเริ่มนั่งได้โดยที่ไม่ต้องประคองจับแล้ว และจะนั่งได้นานขึ้น นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อส่วนคอและหลังมีความแข็งแรงมากพอที่จะทรงตัวได้เอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนด้วย
พัฒนาการ 6 เดือน ด้านสังคม
- ใน พัฒนาการ 6 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มจดจำใบหน้าของพ่อแม่และคนแปลกหน้าได้ และเด็กวัยนี้มักจะมีการตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่น หากพยายามคุยกับลูก ยิ้มและหัวเราะให้เห็น เขาก็จะตอบสนองโดยการยิ้มหรือหัวเราะกลับ
- จดจำใบหน้าของพ่อแม่ได้ ทำให้แยกแยะได้ง่ายว่าใครคือคนรู้จัก และใครคือคนแปลกหน้า เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าลูกน้อยมักจะติดพ่อแม่มากขึ้น
- สนุกกับการเล่นมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่น หรือเล่นกับพ่อแม่ก็ตาม จะสังเกตเห็นได้อย่างง่ายว่าเขามีความสุข ซึ่งช่วงนี้ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
พัฒนาการของเด็ก 6 เดือน ด้านอารมณ์และจิตใจ
- ในข่วง พัฒนาการของเด็ก 6 เดือน จะมีความสุขในการเล่นมากขึ้น และจะตอบสนองต่ออารมณ์ของพ่อแม่ รวมถึงคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเล่นหรือทำกิจกรรมมากขึ้น
- สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการเล่นและทำกิจกรรมมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าพัฒนาการเด็ก 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่เด็กวัยนี้กำลังเรียนรู้และจดจำสิ่งที่อยู่รอบตัว
- จะมีพัฒนาการด้านการมองเห็นที่ชัดขึ้นเกือบ ๆ เท่าผู้ใหญ่ ดังนั้นช่วงนี้ควรให้ลูกมองตัวเองผ่านกระจก เพื่อให้เขารู้ว่าใบหน้าของตัวเองเป็นอย่างไร ถือเป็นวิธีที่จะช่วยพัฒนาสมองเด็กไปในตัวด้วย
พัฒนาการทารก เดือน ที่ 6 ด้านภาษาและการสื่อสาร
- พัฒนาการทารก เดือน ที่ 6 เด็กจะจำชื่อของตัวเองได้ และตอบสนองเมื่อมีคนเรียก ควรฝึกเรียกชื่อลูกอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร หากไม่เคยเรียกชื่อลูกเลยก็จะทำให้เขาไม่รู้ว่าตัวเองชื่ออะไร
- จะเห็นว่าลูกน้อยพยายามพูดมากขึ้น โดยมีการผสมเสียงสระเข้าด้วยกันแล้วออกเสียงนั้นโต้ตอบกับพ่อแม่และคนรอบข้าง อีกทั้งยังมีการเริ่มทำเสียงพยัญชนะต่าง ๆ ด้วย
- สื่ออารมณ์ของตัวเองโดยการส่งเสียง หากลูกรู้สึกหิวหรืองอแง จะเห็นว่าเขาพยายามส่งเสียงดัง ๆ เพื่อสื่ออารมณ์ในขณะนั้น หรือถ้าเขารู้สึกมีความสุขก็มักจะส่งเสียงร้องที่เต็มไปด้วยพลัง
พัฒนาการลูก 6 เดือน ด้านสมอง
- เมื่อเข้าสู่ช่วง พัฒนาการลูก 6 เดือน ลูกน้อยจะสามารถย้ายสิ่งของที่ถืออยู่ในมือหนึ่งไปไว้ในอีกมือข้างหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะยังทำไม่ได้
- เริ่มจำหน้าพ่อแม่ของตัวเองได้แล้ว นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยติดพ่อแม่มากขึ้น เนื่องจากเขารู้ว่าใครคือพ่อแม่ของเขา และในขณะเดียวกันก็ทำให้เขาสามารถแยกแยะได้ด้วยว่าใครคือพ่อแม่ และใครคือคนแปลกหน้า
พัฒนาการเด็ก หก เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ
- ในช่วง พัฒนาการเด็ก หก เดือน เด็กจะสนใจอาหารและอ้าปากเมื่อป้อนอาหารด้วยช้อน จะเห็นได้ว่าเมื่อพ่อแม่ป้อนข้าว ลูกน้อยวัยหกเดือน จะอ้าปากเพื่อรับข้าวที่ป้อน ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าลูกน้อยรู้ว่าตัวเองต้องกินข้าวหรืออาหาร
- เข้าสู่ช่วงพัฒนาการเด็ก หก เดือน ทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จะเริ่มกินอาหารบดที่ทำจากส่วนผสมอย่างเดียวมากขึ้น
แนะนำ 13 ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน ที่เราแนะนำ มีดังนี้
- ยางกัด อาจไม่ใช่ของเล่นที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้มากนัก แต่ยางกัดจะช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากเด็กวัยนี้มักจะมีพฤติกรรมชอบเอาของยัดเข้าปาก ซึ่งเกิดจากการคันเหงือกนั่นเอง
- หนังสือผ้า เรียกว่าเป็นหนึ่งในของเล่นเด็กที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เหมาะกับลูกน้อยวัยแรกเกิดจนถึงหกเดือน โดยหนังสือผ้าจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในเรื่องประสาทสัมผัส เรียนรู้เรื่องราวจากภาพในหนังสือได้
- ตุ๊กตาแขวนเสริมพัฒนาการ เป็นของเล่นที่ถูกออกแบบมาให้มีเสียง ส่วนใหญ่มักจะมีสีสันหลากหลาย และมาพร้อมกระจกส่องมองหน้าตัวเอง ช่วยกระตุ้นการมองเห็นและการได้ยิน
- ของเล่นแบบมีเสียง (Rattle) เป็นของเล่นที่มักจะมีที่จับพอดีมือ จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน สามารถแกว่งไปมาหรือเขย่าให้เป็นเสียงเพื่อให้ลูกหันมาสนใจเสียงของเล่นได้
- เครื่องเล่นดนตรี ไม่ว่าจะเป็นเปียโน กลอง ระนาด และอื่น ๆ จะช่วยพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว กระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมือ และส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและอารมณ์ความรู้สึกของเด็กได้
- กล่องหยอดบล็อก การให้ลูกได้เล่นกล่องหยอดบล็อกจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การแยกรูปร่างและสีสันต่าง ๆ นอกจากนี้การออกแรงก็จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อนิ้วมือและมือของเด็กได้อีกด้วย
- หนังสือนิทาน เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีมาก ๆ ควรเลือกหนังสือนิทานที่มีเนื้อหาเหมาะกับเด็กและเข้าใจง่าย มีภาพขนาดใหญ่และสีสันหลากหลาย
- แฟลชการ์ด เป็นของเล่นที่มีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการ สามารถมองเห็นและจดจำได้อย่างง่ายด้วย เมื่อโตขึ้นเขาจะได้เรียนรู้ว่าในแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง
- ของเล่นป๊อบอัพ ไม่ว่าจะเป็นกล่องสัตว์ป๊อบอัพ รถไฟป๊อบอัพ หรืออื่น ๆ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและบริหารกล้ามเนื้อมือด้วย
- ตุ๊กตาที่มีเสียงกระดิ่ง จะทำให้ลูกน้อยได้เรียนรู้และจดจำเสียงจากตุ๊กตาได้ อย่าลืมว่านอกจากภาพที่จะช่วยกระตุ้นการจดจำให้กับทารกวัยนี้แล้ว เสียงก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กัน
- แผ่นกิจกรรมทำ Tummy Time เป็นของเล่นที่ใช้สำหรับการฝึกลูกน้อยให้นอนคว่ำ ซึ่งต้องมีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา ช่วยกระตุ้นทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ทั้งคอ มือ แขน ขา และระบบประสาท
- ของเล่นเขย่ามีเสียง จะมีเสียงเวลาเขย่า จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านเสียงหรือการได้ยินของลูกน้อยวัยหกเดือน และการให้ถือของเล่นสำหรับเขย่าก็จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อไปในตัวได้พอสมควร
- กล่องกิจกรรม 6 ด้าน โดยจะมีลักษณะเป็นกล่อง 6 ด้าน และทั้ง 6 ด้านนั้นจะมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน แต่ละกิจกรรมก็จะช่วยกระตุ้นการมองเห็น การสัมผัส และการได้ยิน ช่วยเสริมสร้างในเรื่องจินตนาการได้ดี
ทารก 6 เดือน กินอะไรได้บ้าง ?
สำหรับในข้อสงสัยเรื่อง ทารก 6 เดือน กินอะไรได้บ้าง นั้น อาหารที่กินจะต้องมีลักษณะของเนื้อสัมผัสที่เหลว ซึ่งจะต้องทำให้ง่ายต่อการกิน โดยต้องบดก่อนทุกครั้ง นอกจากนมแล้ว มาดูกันว่าเด็กวัยนี้กินอะไรได้บ้าง
- ข้าวสวยบดละเอียด เลือกข้าวหอมมะลิหรือข้าวกล้องก็ได้ โดยนำมาหุงหรือต้มจนสุก จากนั้นบดให้ละเอียดโดยไม่ต้องปรุงรสใด ๆ ถือเป็นอาหารที่พ่อแม่นิยมป้อนให้ลูก 6 เดือนกินในช่วงแรก ๆ ที่ฝึกการกินอาหาร
- ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต และมีไฟเบอร์ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย แนะนำให้ต้มข้าวโอ๊ตจนเปื่อยนุ่มก่อนให้ลูกกิน
- เนื้อหมู ช่วยเสริมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการป้อนอาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเนื้อหมู ให้เลือกส่วนที่เป็นสันในหรือสันนอกมาต้มหรือตุ๋นจนสุกโดยไม่ต้องปรุงรสใด ๆ บดให้ละเอียดและนำไปป้อนลูก
- เนื้อปลา กินได้ทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล ต้องต้มให้สุกและบดจนละเอียดก่อน ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี และมีวิตามินบี 12, วิตามินดี, ธาตุเหล็ก รวมถึงโอเมก้า-3 ที่เป็นกรดไขมันอันมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย
- เนื้อไก่ ถือเป็นเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง อุดมไปด้วยวิตามินบีรวม มีสารอาหารที่จำเป็นอย่างฟอสฟอรัส สังกะสี ธาตุเหล็ก และซิลีเนียมอีกด้วย ก่อนจะให้ลูกกินก็ควรทำให้สุกโดยไม่ต้องปรุงรสใด ๆ จากนั้นบดให้ละเอียด
- ลูกเดือย เป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน จะมีทั้งกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย และวิตามินบีช่วยบำรุงสมอง นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ถั่วลูกไก่ ถือเป็นอาหารที่เหมาะกับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป โดยมีสารอาหารที่สำคัญอย่างโปรตีน, วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินบี 5, วิตามินอี, โฟเลต, โพแทสเซียม, ธาตุเหล็ก, สังกะสี และใยอาหาร
- ฟักทอง เป็นพืชผักที่ถูกจัดให้อยู่ในตระกูลแตง นำมาทำเป็นเมนูฟักทองบดหรือซุปฟักทองก็ได้ มีกากใยช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีสารเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินอีอีกด้วย
- แครอท จัดเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นหลายชนิด พ่อแม่สามารถนำแครอทมาต้มหรือนึ่งจนสุก จากนั้นบดให้ละเอียดก่อนให้ลูกน้อยกิน
- ผักโขม จะมีสารอาหารที่สำคัญอย่างวิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และยังช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย
- ตำลึง อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินที่จำเป็นหลายชนิดและเส้นใย ซึ่งสามารถช่วยบำรุงน้ำนม รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมให้เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยได้ด้วย
- บร็อคโคลี่ เป็นผักสีเขียวเข้มที่มีประโยชน์อยู่มากมาย ทั้งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา ระบบย่อยอาหาร ลดอาการท้องผูก และต้านอนุมูลอิสระ
- ผักกาด ไม่ว่าจะเป็นผักกาดเขียว ผักกาดขาว หรือผักกาดหอม ล้วนเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อทารกวัยนี้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอ, วิตามินซี, โฟเลต, เบต้าแคโรทีน, คลอโรฟิลล์, แคลเซียม, แมกนีเซียม, และเกลือแร่
- กะหล่ำปลี เป็นผักที่ย่อยง่าย จึงเหมาะกับการเป็นอาหารมื้อแรกของทารกที่เพิ่งเริ่มต้นกินอาหารเสริม นำไปผสมกับข้าวบดละเอียดได้ จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเด็ก 6 เดือน
- ไข่แดง เป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะกับการนำมาทำอาหารมีสารอาหารที่สำคัญอย่างโปรตีน วิตามินเอ วิตามินอี ลูทีน เลซิติน และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา ผิวหนัง และความจำ
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก6เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำ เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก6เดือน
ลูก 6 เดือน กินผลไม้อะไรได้บ้าง ?
ในข้อสงสัยเรื่อง ลูก 6 เดือน กินผลไม้อะไรได้บ้าง นั้นต้องบอกว่า เนื่องจากเด็กวัยนี้จะยังไม่มีฟันที่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวอาหารเองได้ ผลไม้จึงจำเป็นต้องผ่านการบดให้ละเอียดก่อน มาดูกันว่ามีผลไม้ชนิดใดบ้างที่ทานได้
- กล้วยน้ำว้า จะมีความนุ่ม ไม่แข็งเหมือนผลไม้ชนิดอื่น ๆ จึงทำให้ง่ายต่อการนำมาบด โดยกล้วยน้ำว้านั้นก็จะมีสารอาหารจำเป็นอยู่มากมาย ซึ่งจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของทารกได้ด้วย
- มะละกอสุก ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับทารกได้ และมีส่วนช่วยย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ดีอีกด้วย โดยการจะนำมาให้ทารกกินนั้นจำเป็นต้องบดให้ละเอียดก่อน
- มะม่วงสุก แนะนำให้เลือกมะม่วงสุกที่มีรสหวานกำลังดี หรือรสเปรี้ยวหวานก็ได้ มีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา มีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
- ส้ม เป็นผลไม้ที่มีสารอาหารและวิตามินซีสูงมาก หากนำมาให้ทารกกินก็จะทำให้รู้สึกสดชื่น ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กและย่อยโปรตีนจากน้ำนมที่ดื่มกินได้เป็นอย่างดี
- แอปเปิ้ลแดง จริง ๆ แล้วทารกสามารถกินได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน เรียกว่าเป็นผลไม้ที่เหมาะกับการฝึกให้ลูกน้อยกินอาหารแข็งมากเลยทีเดียว โดยแอปเปิ้ลนั้นถือเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่ดี
- สาลี่ ช่วยในเรื่องการย่อยอาหารและการขับถ่าย สำหรับเด็กที่ยังไม่มีฟันก็ควรนำสาลี่ไปนึ่งและบดให้ละเอียดก่อน แต่ถ้าเด็กคนไหนมีฟันขึ้นบ้างแล้วก็สามารถปอกเปลือกสาลี่และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้เลย
- อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างไรก็ตามไม่ควรให้เด็กทานอะโวคาโดบ่อยหรือมากเกินไป เพราะเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูง แนะนำให้ทานแค่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
- องุ่น อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นยาระบายตามธรรมชาติ เหมาะกับเด็กที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อย ท้องอืดและท้องเฟ้อ แต่จะต้องแกะเปลือกและนำเมล็ดออกก่อน
- ลูกแพร์ เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่มีใยอาหารสูง ซึ่งจะช่วยในการขับถ่ายและป้องกันอาการท้องผูกในทารกได้ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
- แคนตาลูป อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยป้องกันอาการท้องผูกในทารก และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ลูกพรุน อุดมไปด้วยไฟเบอร์และวิตามินหลายชนิดที่ช่วยบำรุงร่างกายทารกหกเดือน ทั้งช่วยบรรเทาอาการท้องผูก นำลูกพรุนมาบดหรือจะใช้น้ำลูกพรุนมาผสมกับโจ๊กแล้วให้ลูกทานก็ได้เช่นกัน
ทารก 6 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?
คำถามเกี่ยวกับ ทารก 6 เดือน กินข้าวกี่มื้อ นั้นต้องบอกว่านอกจากการกินนมแม่เป็นปกติอยู่แล้ว อาจเพิ่มมื้ออาหารเข้าไปวันละ 1 มื้อ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะในนมแม่ก็ยังพอมีสารอาหารที่จะทำให้ลูกเจริญเติบโตได้ แต่เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ มากขึ้น อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ ที่ไม่มีในนมแม่ด้วย เช่นนี้จึงต้องเพิ่มมื้ออาหารเข้าไป
ลูก 6 เดือน กินข้าวกี่โมง ?
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงสงสัยในเรื่อง ลูก 6 เดือน กินข้าวกี่โมง ซึ่งต้องบอกว่า เด็กสามารถกินข้าวเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนบ่าย หรือตอนเย็นก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ก่อนถึงมื้ออาหารควรงดการให้นมลูกสัก 1-2 ชั่วโมง
ทำไม ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ 6 เดือน ทำอย่างไรให้เด็กหยุดร้อง?
ในบางครั้งจะเห็นว่า ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ 6 เดือน ทว่าความจริงแล้วการที่ลูกร้องไห้ในลักษณะนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ลูกสื่อสารกับพ่อแม่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถพูดเป็นคำให้เข้าใจเหมือนผู้ใหญ่ได้ จึงมักจะร้องไห้แทนการสื่อสาร เรามาดูกันว่าควรรับมืออย่างไร
- สังเกตอาการของลูกและแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ เนื่องจากลูกร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ เพราะฉะนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตอาการของลูกว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
- ปลอบลูกให้สงบ สิ่งที่จะช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุคือการทำให้ลูกรู้สึกสงบและปลอดภัย เด็กวัยนี้มักจะติดพ่อแม่ และมีความกลัวว่าจะถูกทิ้ง การปลอบเพื่อให้เขารู้สึกสงบก็จะช่วยทำให้หยุดร้องได้
- ให้ลูกกินนมหรือดูดนิ้วมือ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยให้ลูกหยุดร้องได้อย่างง่าย เนื่องจากเขาจะดูดเป็นจังหวะและทำให้ชีพจรของเขาเต้นเป็นจังหวะ จะทำให้รู้สึกสงและสบายตัว จนทำให้หยุดร้องไห้ได้ในที่สุด
หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในเด็ก 6 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : คู่มือแก้ปัญหาจาก พัฒนาการ ทารก 6 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่!!
ลูก 6 เดือน ร้องตอนกลางคืน เพราะสาเหตุอะไร? มีวิธีแก้ไขอย่างไร?
ในบางครั้งที่ ลูก 6 เดือน ร้องตอนกลางคืน ทำให้พ่อแม่ก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วลูกของตัวเองเป็นอะไรกันแน่ ซึ่งสาเหตุมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความหิว, ความไม่สบายตัว, ความเจ็บป่วย, อาการโคลิก และอื่น ๆ ซึ่งจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน
- สาเหตุหนึ่งที่ลูกน้อยมักจะตื่นบ่อย ๆ ในตอนกลางคืนก็อาจจะเป็นเพราะว่ารู้สึกหิว เพราะในบางครั้งลูกวัยนี้จะต้องการกินนมมากกว่าปกติ เมื่อกินไม่อิ่ม ในตอนกลางคืนอาจจะหิวจนร้องไห้
- การที่ลูกน้อยตื่นมาร้องไห้ในตอนกลางคืนนั้นอาจเกิดจากความรู้สึกไม่สบายตัว หรืออึดอัดตัว ควรหาทางทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายโดยการอุ้มแล้วโยกตัวไปมาแบบเบา ๆ หรืออุ้มลูกแล้วเดินไปรอบ ๆ บ้าน
- กล่อมลูกจนนอนหลับ การกล่อมให้ลูกนอนหลับสามารถทำได้โดยการร้องเพลง หรือเปิดเพลงกล่อมแบบสบาย ๆ ก็ได้เช่นกัน โดยแนะนำให้กล่อมลูกหลังจากที่เขาเริ่มรู้สึกสงบแล้ว
ลูก 6 เดือน หนัก 8 โล ไม่ขึ้นเลย ปกติรึเปล่า?
ส่วนใหญ่แล้วการที่ ลูก 6 เดือน หนัก 8 โล นั้นเป็นเรื่องที่ปกติ และเด็กจะมีน้ำหนักขึ้นเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 300-400 กรัม/เดือน หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักจะขึ้นช้าหรือไม่ขึ้นเลย เมื่อเทียบกับ 3 เดือนแรกที่น้ำหนักจะขึ้นมากถึงเดือนละประมาณ 800-900 กรัม แต่ทั้งนี้หากน้ำหนักยังคงที่เป็นเวลานานๆก็ควรไปปรึกษาแพทย์
ทำไม ลูก 6 เดือน ร้องกรี๊ด ?
คุณพ่อแม่หลายคนอาจจะเห็น ลูก 6 เดือน ร้องกรี๊ด อยู่เป็นช่วง ๆ ซึ่งเราไม่สามารถตอบได้เลยว่าเขาเป็นอะไร และกำลังรู้สึกอย่างไร ทำไมถึงร้องกรี๊ด ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตอาการของลูกเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งสาเหตุอาจมีดังนี้
- ลูกกำลังสื่อสารกับพ่อแม่ นี่อาจเป็นสาเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่าย เนื่องจากลูกน้อยยังไม่รู้จักอารมณ์และวิธีจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง จึงทำให้เขาต้องสื่อสารออกมาโดยการร้องกรี๊ด
- เรียกร้องความสนใจ ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถพบได้ในเด็กหลายคน เนื่องจากเขายังไม่สามารถพูดเป็นภาษาที่เราเข้าใจได้ เมื่อต้องการอะไรก็จะไม่รู้ว่าจะบอกยังไง จึงมักจะร้องกรี๊ดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
- พลังงานเยอะ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กบางคนนั้นมีพลังงานเยอะ สามารถเล่นได้หลายชั่วโมง ไม่มีเหนื่อย เช่นเดียวกับการร้องกรี๊ด หากเด็กคนนั้นมีพลังเยอะ เขาก็มักจะร้องกรี๊ดออกมาเพื่อปลดปล่อยพลังงานที่มีอยู่
ทารก 6เดือน งอแง ผิดปกติ ไม่ยอมนอนทั้งที่ง่วง รับมือยังไงดี?
เมื่อเห็นว่า ทารก 6เดือน งอแง ผิดปกติ ง่วงนอนแต่ไม่ยอมนอน นั่นอาจเป็นเพราะลูกกำลังตกอยู่ในภาวะเหนื่อยหรือง่วงมากเกินไปจนไม่สามารถนอนหลับได้ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Overtired Baby" นั่นเอง โดยลูกมักจะร้องไห้งอแง นอนหลับไปได้สักพักก็จะตื่นมากลางดึก และไม่สามารถนอนต่อได้ มาดูกันว่าควรรับมืออย่างไร
- กล่อมลูก การจะทำให้ลูกยอมนอนได้ พ่อแม่จำเป็นต้องกล่อมลูก โดยอาจจะร้องเพลงหรือเปิดเพลงกล่อมก็ได้ พร้อมกับตบก้นลูกเบา ๆ เพื่อให้เขารู้ว่าพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ จะทำให้เขาอุ่นใจมากขึ้น และยอมนอนในที่สุด
- หาทางทำให้ลูกสงบ บรรยากาศที่ไม่สงบถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมนอนได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นควรหาทางทำให้ลูกสงบ เช่น อุ้มลูกและเดินไปในที่อื่นที่มีความสงบ ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ
- สร้างบรรยากาศให้เหมาะต่อการนอน ในบางครั้งที่ ทารก 6เดือน งอแง ไม่ยอมนอนก็อาจเป็นเพราะว่าบรรยากาศโดยรอบไม่เอื้ออำนวยต่อการนอนหลับพักผ่อน ฉะนั้นพ่อแม่จะต้องสร้างหรือปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้น่านอนมากขึ้น
ทำไม ลูก 6 เดือนชอบกระโดด ดีกับเด็กอย่างไร?
การที่ ลูก 6 เดือนชอบกระโดด นั้นเพราะมีสาเหตุจากการที่เด็กสามารถควบคุมกล้ามเนื้อคอ ไหล่ หน้าอก และส่วนหลังได้ดีแล้ว อีกทั้งร่างกายส่วนล่างอย่างขาและเท้าก็ถูกพัฒนาขึ้นด้วย จึงทำให้เด็กวัยนี้ชอบกระโดดเมื่อถูกจับยืนอยู่บนพื้น ซึ่งการกระโดดจะทำให้เขารู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเอง รวมถึงได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
สรุป
เมื่อเข้าสู่ช่วงพัฒนาการเด็กหกเดือน พ่อแม่จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ลูกเป็นพิเศษ เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคนอื่นได้ด้วย ในขณะเดียวกันความเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ของลูกก็มักจะมาพร้อมกับปัญหาอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นให้ดี