พัฒนาการ เด็ก 7 เดือน เป็นช่วงที่ลูกต้องได้รับการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และจิตใจ อาจจะด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการก็ได้ ซึ่งในช่วง 7-8 เดือนของทารก คุณพ่อคุณแม่ก็จำเป็นต้องเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็น เด็กกินข้าวกี่มื้อ กินนมกี่ออนซ์ เด็กเอาแต่ใจ น้ําหนักไม่ถึงเกณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายหัวข้อพวกนี้อย่างละเอียด
หากพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!!
รอบรู้เรื่อง พัฒนาการ เด็ก 7 เดือน ที่คุณแม่ต้องรู้
เมื่อพูดถึงการพัฒนาการของเด็กวัยนี้แล้ว สำหรับเด็กวัยนี้เป็นวัยที่ลูกน้อยมีการพัฒนาการรอบด้าน ทั้งร่างกายที่เริ่มเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก รวมถึงการพัฒนาทางด้านความคิด อารมณ์ และสังคม
คุณพ่อคุณแม่ ควรใส่ใจ มีเวลาให้กับลูกน้อย เพื่อที่จะสามารถสังเกตการณ์สำหรับพัฒนาการแต่ละส่วนจากพฤติกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
พัฒนาการด้านความคิด
สมองของทารกวัย7เดือนจะเริ่มมีการพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด เริ่มเชื่อมโยงความคิด และจดจำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้สิ่งรอบตัว เพราะเริ่มที่จะค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับของเล่น สังเกตคนใกล้ตัว
อีกทั้งสิ่งที่เห็นได้ชัดเลย นั่นคือ ลูกน้อยมีความคิดแยกแยะใบหน้า และเสียงของคุณพ่อ และคุณแม่ รวมไปถึงคนใกล้ชิดได้แล้ว
พัฒนาการ 7 เดือน ด้านร่างกาย
เด็กส่วนใหญ่ในช่วงนี้ เริ่มมีความพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นกว่าเก่า จากที่คลานอยู่แล้วอาจเริ่มคลานมากกว่าเดิม หรือบางคนอาจพร้อมสำหรับการยึดเกาะสิ่งของต่างๆรอบตัวเพื่อยันตัวเองให้นั่งหรือยืนขึ้น
เนื่องจากพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเริ่มจัดบ้านใหม่ให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
เพราะเด็กในวัยนี้มักไม่ชอบอยู่กับที่ ร่างกายมีการเคลื่อนที่อยู่เกือบตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยจับตามองและดูแลเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ พยายามจัดบ้านให้สะอาด มีพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และพยายามลีกเลี่ยงสิ่งของอันตรายไม่ให้อยู่ใกล้บริเวณที่ลูกของคุณอยู่ เพื่อความปลอดภัย และเป็นการช่วยสร้างเสริมพัฒนาการที่ดีของเด็กได้ด้วย
พัฒนาการเด็ก 7-8 เดือน ด้านสังคม
สำหรับเด็กช่วงวัยนี้จะติดคุณแม่คุณพ่อมาก และเริ่มสนใจผู้คนรอบตัวที่เข้าหา ในบางครั้งจะเริ่มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมจากคนรอบตัวที่เห็นได้บ่อยครั้ง โดยผ่านการใช้เสียงและการสื่อสาร ซึ่งจะมีพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
- เด็กจะพยายามออกเสียงเลียนแบบคำพูดของคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิด เพราะเด็กในวัยนี้ทักษะด้านการสื่อสารมีพัฒนาการมากขึ้น เริ่มที่จะอยากพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ และการออกเสียงจะมีคำที่สื่อความหมายถึงความต้องการต่าง ๆ แต่มักเป็นคำพยางค์เดียวที่เด็กสามารถออกเสียงได้ชัดเจน เช่น ปา, มา และเอา เป็นต้น
- ลูกจะเริ่มใช้เสียงเพื่อพยายามสื่อสาร จะมีการออกเสียงเพื่อการพูดคุย สื่อถึงอารมณ์ที่แสดงอยู่ในตอนนั้น เช่น ส่งเสียงหัวเราะเมื่อรู้สึกสนุก หรือกรีดร้องเมื่อรู้สึกไม่พอใจ ในช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ดี พยายามใช้เวลาพูดคุยและทำกิจกรรมกับลูกของคุณ อย่างเช่น อยู่เป็นเพื่อนเล่นของเล่นด้วยกันบ่อยๆ การทำเช่นนี้สามารถช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านสังคมของเด็กให้ดีขึ้นได้
พัฒนาการทารกเดือนที่ 7 ทางอารมณ์ จิตใจ
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กวัยนี้จะแสดงออกทางอารมณ์อย่างชัดเจน เช่น
- ติดเล่นง่าย
- หัวเราะง่าย
- สนุกสนานกับของเล่นหรือสิ่งรอบตัวที่หาได้ง่าย ๆ
- อาการติดคุณพ่อคุณแม่หรือคนที่คุ้นเคย
- เริ่มรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยเมื่อไม่เห็นคุณพ่อคุณแม่อยู่ในสายตา
- รู้สึกไม่สบายใจเมื่ออยู่ใกล้กับคนแปลกหน้า
- อารมณ์ดี มีความสุขหรือสบายใจ หากได้อยู่กับครอบครัว
ทารก 7 เดือน พัฒนาการ ทางภาษา
เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มออกเสียงพูดคำที่พอจะฟังแล้วเข้าใจได้มากขึ้น ซึ่งเสียงที่เปล่งออกมาจะมีทั้งเสียงสระ และพยัญชนะ แต่ส่วนใหญ่มักเป็นคำสั้น ๆ เช่น พ่อ แม่ หรือ ปาป๊า มาม๊า ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะตอบรับและพูดคำซ้ำ ๆ ให้ลูกฝึกพูดตามได้อย่างถูกต้อง สามารถอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังได้ เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่เร็วและเก่งมากขึ้น
พัฒนาการลูก 7 เดือน ทางสมอง
เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ความสามารถในการรับรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- เริ่มจดจำใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่ใกล้ชิดได้
ในวัยนี้จะเริ่มมีการจดจำใบหน้า และจดจำภาพต่าง ๆ จากสิ่งรอบตัวได้อย่างดี - เริ่มสนใจการเล่นหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดและความจำ
สามารถแยกแยะและเชื่อมโยงเสียงต่างเช่นเสียง “เมี้ยวๆ” ก็สามารถรับรู้ได้ว่าเป็นเสียงของแมว
พัฒนาการของเด็ก 7 เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ
เป็นวัยที่ลูกน้อยต้องการทดลองของกินใหม่ ๆ ซึ่งเด็กวัยนี้สามารถที่จะเริ่มทานอาหารกึ่งเหลว เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยว เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือซุปผักได้แล้ว
คุณพ่อคุณแม่อาจจะทดลองให้ลูกทานแล้วสังเกตดูว่าลูกชอบหรือไม่ชอบอะไร และมีอาการแพ้อาหารชนิดไหนบ้าง
การเริ่มทานอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการทานนมแม่นั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและกล้ามเนื้อของเด็กเป็นอย่างดี
การกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน ควรทำยังไง?
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการ การกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน คือ การที่คุณพ่อคุณแม่อยู่ดูแลอลูกอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
- ใช้เวลาเล่นกับลูกหรือพูดคุยกับเขาอย่างช้า ๆ เพื่อเป็นการฝึกทักษะด้านการคิด การจดจำ รวมถึงทักษะด้านภาษาอีกด้วย เพราะเด็กช่วงนี้เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการหลาย ๆ ด้านพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน
- ให้เล่นของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการ เช่น ของเล่นที่สามารถแยกแยะสีได้ หรือของเล่นที่มีภาพประกอบ เช่น นิทานต่าง ๆ
- หมั่นฟังเขาบ่อย ๆ เพราะการตอบกลับที่นุ่มนวล ช่วยให้เด็กกล้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
- อ่านหนังสือให้ฟัง คุณพ่อคุณแม่สามารถหานิทานเสริมความรู้เพื่ออ่านให้ลูกน้อยฟัง เพราะช่วยเสริมทักษะการอ่าน และความจำได้เป็นอย่างดี
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนู อาหารเด็ก 7 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก7เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำเมนูอาหารเด็ก 7 เดือน กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน?
10 ของเล่นเด็ก 7 เดือน ที่ดีต่อพัฒนาการลูกน้อย
สำหรับ ของเล่นเด็ก 7 เดือน ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย มีดังต่อไปนี้
- ของเล่นที่มีเสียงเมื่อกดปุ่ม เช่น เครื่องดนตรีขนาดเล็ก เสียงเพลงหรือเสียงดนตรีจะช่วยฝึกและกระตุ้นประสาทในการรับฟัง ช่วยให้เด็กสามารถแยกแยะเสียงที่แตกต่างกันได้ อีกทั้งยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือและนิ้วให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้การหยิบ จับ สิ่งของมีความมั่นคงมากขึ้นด้วย
- ของเล่นที่มีเสียงเมื่อมีการขยับ เช่น กระพรวน กระดิ่ง ช่วยดึงดูดความสนใจจากเด็กได้ดีมาก ช่วยทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น จดจ่ออยู่กับเสียงที่ได้ยิน มีส่วนช่วยทำให้เด็กที่กำลังร้องไห้งอแงหรือหงุดหงิดใจเย็นลงได้
- หนังสือนิทานภาพ เด็กวัยนี้จะเริ่มฟังและเข้าใจภาษาพูดได้มากขึ้นแล้ว การอ่านหนังสือนิทานให้ฟังเป็นการช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากออกเสียงตามด้วย ให้คุณพ่อคุณแม่พยายามอ่านนิทานให้ฟังช้าๆ ใช้ภาษาที่ถูกต้องและชัดถ้อยชัดคำ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้เด็กฝึกพูดตามได้ดี
- บล็อคไม้รูปทรงเรขาคณิต ช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านสมองและ IQ ของเด็ก เพื่อฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ อีกทั้งยังช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือในการหยิบ จับ
- จิ๊กซอว์หรือตัวต่อ เน้นช่วยฝึกสมาธิ สร้างเสริมจินตนาการของเด็กได้ดี อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสมอง ความจำ ความคิด การวิเคราะห์
- ของเล่นที่มีล้อหรือของเล่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถไขลาน รถไถของเด็ก ช่วยให้เด็กมีการเคลื่อนที่ไปมา การเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆจะช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านร่างกายให้กับเด็ก ช่วยให้แขน ขา และลำตัวของเด็กแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
- ของเล่นที่มีสีสัน มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เช่น ลูกบอลยางหลากสี ช่วยดึงดูดความสนใจของเด็กให้มีสมาธิ และยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือของเด็กในการบีบหรือกำสิ่งของให้แน่น ส่งผลให้นิ้วมือและข้อมือของเด็กแข็งแรงมากขึ้นด้วย
- ของเล่นรูปสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ ช่วยให้เด็กสามารถแยกแยะความแตกต่างของหน้าตาและรูปร่างของสัตว์ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้ลูกออกเสียงตามสัตว์ชนิดนั้น โดยทำเสียงให้ฟังเป็นตัวอย่างก่อนช้าๆ วิธีการนี้จะเป็นการเพิ่มพัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
- ของเล่นขณะอาบน้ำ เช่น ห่วงยางช่วยลอยตัว เป็ดยาง สามารถช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดีต่อการอาบน้ำของเด็ก ซึ่งมีส่วนช่วยให้เด็กไม่งอแงเวลาคุณพ่อคุณแม่อาบน้ำให้
- ของใช้ทั่วไปก็เป็นของเล่นได้ หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า อุปกรณ์ ขวดนม ช้อน หรือ ชามข้าว ช่วยเพิ่มทักษะการหยิบจับให้มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเช่นกัน
ไขข้อสงสัย ลูก 7 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?
คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ลูก 7 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ดี ซึ่งโดยปกติเราควรจะให้ 1-2 มื้อต่อวัน แต่จริง ๆ แล้ว ความต้องการแต่ละมื้อของเด็กแต่ละคนนั้นหลากหลายไม่เหมือนกัน ทำให้สามารถแบ่งได้ 2 กรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีเด็กที่ยังไม่อย่านมแม่
เด็กสามารถทานได้เพียงแค่ 1-2 มื้อต่อวัน และควรค่อย ๆ ปรับมื้ออาหารหลังอย่านม
2. กรณีเด็กที่อย่านมแม่แล้ว
เด็กสามารถทานอาหารได้ครบทั้ง 3 มื้อ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เน้นให้ลูกทานนม และอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของเขา โดยกะปริมาณอาหารให้พอดี เช่น 2 - 8 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ และควรให้ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ลูก 7 เดือน ควรกินกี่ออนซ์ ? ถึงจะดี
คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกังวลเรื่องนม ลูก 7 เดือน ควรกินกี่ออนซ์ ถึงจะพอดี ซึ่งตามปกติแล้วเด็กวัยนี้ควรทานนมประมาณ 6-8 ออนซ์ หรือ 180-240 ซีซี ต่อ 1 ครั้ง วันละ 4-5 ครั้ง
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจำเป็นต้องทานนมในปริมาณนี้เท่ากันหมด ปริมาณของนมที่ทานจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและพฤติกรรมกรรมของเด็กแต่ละคน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตรนี้
สูตรคำนวณปริมาณนมที่เหมาะสม ในแต่ละวันของเด็ก
(น้ำหนักของเด็ก7เดือน (หน่วยเป็นกิโลกรัม) x 110) ÷ 30 = ปริมาณนมที่เหมาะสมต่อ 1 วัน (หน่วยเป็นออนซ์)
แต่อย่างไรก็แล้วแต่ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษา สอบถาม และขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ควบคู่ไปด้วย เพราะว่าเรื่องของโภชนาการเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ลูก 7 เดือนเอาแต่ใจ รับมือแบบนี้
สาเหตุหลักของการที่ ลูก 7 เดือนเอาแต่ใจ มักเกิดจากความรู้สึกต้องการเป็นที่สนใจ
ในกรณีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสม เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำใจให้เย็นไว้ ทำเป็นไม่สนใจต่อพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ว่าการกระทำแบบนี้จะไม่ทำให้ได้รับความสนใจ และหมั่นพูดคุยกับลูกอย่างนุ่มนวล เพื่อทำให้เขารู้สึกได้รับความรักและความเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่
หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในเด็ก 7 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : คู่มือแก้ปัญหาจาก พัฒนาการ ทารก 7 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่!!
ทารก 7 เดือน น้ําหนัก ตามเกณฑ์ควรเป็นกี่กิโล?
ทารก 7 เดือน น้ําหนัก ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็นสามารถแบ่งได้ตามเพศ ดังต่อไปนี้
น้ำหนักเฉลี่ยทารกเพศชาย
น้ำหนักเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 8.3 กิโลกรัม และควรมีความยาวประมาณ 68 เซนติเมตร
น้ำหนักเฉลี่ยทารกเพศหญิง
น้ำหนักเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 7.6 กิโลกรัม มีความยาวประมาณ 66 เซนติเมตร
แต่การเจริญเติบโตของเด็กบางคนอาจแตกต่างกันได้ ไม่ตรงตามเกณฑ์นี้ก็มี ขึ้นอยู่กับอาหารการกินต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
สรุป
จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ชัดว่าเด็กวัย7เดือน มีความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการเป็นอย่างมาก ทั้งด้าน ร่างกาย สังคม อารมณ์และจิตใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ
เพราะเด็กวัยนี้ยังไม่มีการพัฒนาการที่เต็มที่ เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่ครบถ้วน แข็งแรงสมบูรณ์ของลูกของคุณ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ พร้อมที่จะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมนำเทคนิคต่าง ๆ ในบทความนี้ไปปรับใช้กันได้
แหล่งที่มา : musicandef , amarin