เมื่อเข้าสู่ช่วง พัฒนาการ ทารก 6 เดือน แล้ว มักจะมีปัญหาต่าง ๆ ของทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ เช่น ลูกยังไม่นั่ง หรือคลาน, ไอแห้ง ๆ, ตกเตียงหัวกระแทกพื้น, งอแงมาก ละเมอ ร้องไห้ ตื่นบ่อยตอนกลางคืน, ไม่ยอมนอน, อยู่ไม่นิ่ง, ท้องเสีย, ไม่กินข้าว ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือไว้ อีกทั้งยังมีเรื่องที่ต้องรู้อีก อาทิเช่น เด็กต้องถ่ายกี่ครั้งถึงจะดี, กินน้ํากี่ออน, นอนกี่ชม.ดี, เมนูส่งเสริมเพิ่มน้ําหนักลูกน้อยเมื่อลูกน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งบทความนี้จะให้ความรู้และอธิบายแนวทางในการรับมืออย่างง่าย ๆ กับปัญหาที่อาจพบเจอได้ในเด็กทารก 6 เดือน
พัฒนาการ ทารก 6 เดือน ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ควรเป็นยังไง?
ในทารกอายุ 6 เดือน สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดก็คือพัฒนาการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว นอกจากตัวจะใหญ่ขึ้นแล้ว พฤติกรรมการแสดงออกหรือการเคลื่อนไหวตัวก็จะทำได้ดีขึ้น จึงทำให้เด็กในวัยนี้เหมาะที่จะฝึกให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มาดูกันว่าพัฒนาการเด็กทารก 6 เดือน ควรจะเป็นอย่างไรบ้าง
- การเพิ่มของน้ำหนักและส่วนสูง ข้อมูลทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าทารก 6 เดือนจะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 6-8 กิโลกรัม และส่วนสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60-69 เซนติเมตร แต่เด็กผู้ชายจะมีพัฒนาการเร็วกว่าเด็กผู้หญิงเล็กน้อย ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
- เริ่มนั่งได้โดยที่ไม่ต้องประคองจับ เนื่องจากกล้ามเนื้อคอและหลังของทารกวัยนี้จะเริ่มมีความแข็งแรงขึ้นแล้ว แต่ในเด็กบางคนอาจต้องให้พ่อแม่คอยประคองอยู่บ้าง ทั้งนี้ควรมีอุปกรณ์นุ่ม ๆ ไว้รองรับ ในกรณีที่ลูกทรงตัวไม่อยู่
- เริ่มพลิกตัวได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากกล้ามเนื้อคอและหลังของทารกวัย 6 เดือน เริ่มมีความแข็งแรงขึ้นแล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการพลิกตัวไปมาทั้งสองด้าน นอกจากนี้ยังช่วยให้ทารกสามารถนอนได้หลายท่ามากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง ท่านอนคว่ำ หรือแม้แต่กึ่งนั่งกึ่งนอน
- สามารถหยิบจับสิ่งของได้อย่างคล่องมือ โดยลูกน้อยมักจะใช้มือหรือนิ้วดึงสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวได้อย่างง่าย รวมทั้งสามารถเปลี่ยนมือที่ใช้ถือสิ่งของนั้นได้ด้วย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพิสูจน์ได้โดยการนำของเล่นหรือสิ่งของขนาดเล็กวางไว้ใกล้ตัวลูก
นอกจากนี้แล้วยังมีพัฒนาการด้านอื่นๆอยู่อีก
คุณสามารถ Click เข้าไปดูเนื้อหาหัวข้อนี้อย่างละเอียดได้ที่ : คู่มือ พัฒนาการ เด็ก 6 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ต้องอ่าน!!
ลูก 6 เดือน ยังไม่นั่ง ถือเป็นเรื่องปกติไหม?
ในกรณีที่ ลูก 6 เดือน ยังไม่นั่ง ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการไม่เท่ากัน ซึ่งโดยปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงพัฒนาการ 6 เดือน กล้ามเนื้อคอของทารกจะเริ่มแข็งและสามารถนั่งได้แล้ว แต่ในเด็กบางคนยังจำเป็นต้องให้พ่อแม่ช่วยประคองอยู่บ้าง
ลูก6เดือน ยังไม่คลาน ทำยังไงดี?
กล่าวได้ว่าการที ลูก6เดือน ยังไม่คลาน นั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะโดยทั่วไปทารกสามารถคลานได้เร็วสุดตอนอายุ 4 เดือน และช้าสุดตอนอายุ 7-9 เดือน อย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่มีความกังวลและอยากจะให้ลูกคลานได้เร็ว ๆ สามารถทำตามได้ ดังนี้
- ฝึกคว่ำตัว เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยสามารถคลานได้ โดยให้ฝึกคว่ำตัวลูกบนตักในขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ตอนอุ้มพาดบ่า รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกน้อยได้มีโอกาสในการคว่ำตัวอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง และแขน ทำให้คลานได้เร็วขึ้น
- คุณพ่อคุณแม่สามารถอุ้มลูกขึ้น จากนั้นปล่อยให้เขานั่งด้วยตัวเองโดยไม่ต้องคอยประคองอยู่ตลอดเวลา เพราะการฝึกให้เด็ก 6 เดือน นั่งได้ด้วยตัวเองในลักษณะนี้ จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและหลังให้แข็งแรงขึ้น ส่งผลให้ทารกมีความพร้อมที่จะเริ่มคลานได้
- ในกรณีที่ลูกของคุณเริ่มนั่งและทรงตัวได้ดีแล้ว แนะนำให้ใช้ของเล่นในการหลอกล่อเพื่อกระตุ้นให้ลูกอยากคลานไปหาของเล่น โดยให้คุณพ่อคุณแม่ชูของเล่นไปมาเพื่อให้ลูกน้อยคลานไปข้างหน้าและหยิบของเล่นนั้น การฝึกลักษณะนี้จะช่วยให้ลูกอยากที่จะคลานและเคลื่อนไหวตัวมากขึ้น
ลูก 6 เดือน ไอ แห้ง ๆ เป็นสัญญาณอันตรายไหม? รับมืออย่างไรดี?
โดยส่วนใหญ่ในทารกวัย ลูก 6 เดือน ไอ แห้ง ๆ อาการนี้มักเกิดจากการแพ้หรืออาการหวัด ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกรู้สึกระคายเคืองจากการติดเชื้อบริเวณลำคอ ซึ่งจะอันตรายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการไอ ซึ่งสามารถรับมือได้ดังนี้
- ให้ลูกจิบน้ำ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการไอแห้ง ๆ ได้ เพราะการจิบน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น แนะนำให้เลือกน้ำเปล่าที่สะอาด หากเป็นน้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วก็จะดีมาก หรือจะให้น้ำนมแทนก็ได้เช่นกัน
- ล้างจมูก หรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือ นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการโดยให้ลูกกินยาลดน้ำมูกได้ด้วย แต่ยานั้นจะต้องเป็นยาที่แพทย์แนะนำและรับประกันว่าใช้ได้ผลจริง
- หากลูกน้อยมีอาการไอนานมากกว่า 2-3 ชั่วโมง หรือในกรณีที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ในทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุ
อย่าชะล่าใจ! ลูก 6 เดือน หัวกระแทกพื้น ตกเตียง หัวปูด หัวโน อันตราย จะรับมือได้อย่างไรบ้าง?
หากวันหนึ่ง ลูก 6 เดือน หัวกระแทกพื้น ตกเตียง ทำให้หัวปูด หัวโน สามารถใช้วิธีรับมือได้ดังต่อไปนี้
- หากลูกน้อยมีบาดแผลอื่น ๆ ตามร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดและทำแผลให้ลูก ถ้าหากลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุดก็ควรปลอบโดยการอุ้มจนหยุดร้องไห้
- หากตกจากที่สูงอย่างรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อสมองได้ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยบรรเทาอาการของลูกน้อย จากนั้นพาลูกไปโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจดู
ในช่วงทารกวัย 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นได้ว่าลูกน้อยจะเริ่มเคลื่อนไหวตัวมากขึ้น จึงเป็นเรื่องปกติที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ลูก6เดือน งอแงมาก เกิดจากสาเหตุอะไร? แล้วทำไงดี?
สำหรับอาการ ลูก6เดือน งอแงมาก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- หิว
- ง่วง
- เหนื่อย
- ไม่สบายท้อง
- ป่วย
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการดังกล่าวและพิจารณาว่ามีสาเหตุใดที่ทำให้ลูกงอแง โดยทั่วไปแล้วจะรับมือโดยการปลอบให้ลูกสงบก่อน จากนั้นกล่อมให้นอนหลับ
ลูก6เดือน งอแงตอนกลางคืน เพราะอะไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร?
การที่ทารกวัย 6 เดือน งอแงตอนกลางคืน แล้วไม่ยอมหลับยอมนอน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความหิว ความไม่สบายตัว ความเจ็บป่วย อาการโคลิก เป็นต้น โดยพ่อแม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ให้ลูกกินนมก่อนนอน เพื่อให้ลูกรู้สึกสงบมากขึ้น โดยปกติหากลูกกินนมจนอิ่มแล้วก็จะยอมนอนเอง หรือในบางครั้งก็จะหลับในขณะที่กินนมจากเต้าแม่ หากไม่ยอมนอนก็ควรกล่อมโดยการร้องเพลงและตบก้นไปด้วย
- การที่ลูกงอแงตอนกลางคืนอาจเกิดจากความรู้สึกที่ไม่สบายตัว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย โดยการอุ้มและโยกตัวไปมาแบบเบา ๆ หรืออุ้มลูกแล้วเดินไปรอบ ๆ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
- จัดการสิ่งที่รบกวน เช่น แสงไฟ เสียงดัง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยงอแงและไม่ยอมนอน เนื่องจากบรรยากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการพักผ่อน
ลูก6เดือน ละเมอ ร้องไห้ เหมือนโดนตี สาเหตุเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ไขอย่างไร?
ลูก6เดือน ละเมอ ร้องไห้ อาการเหมือนโดนตี ในเด็กวัยนี้ มักเกิดจากความระแวง กลัวว่าพ่อแม่จะหายไปจากชีวิตของเขา เนื่องจากเด็กวัยนี้จะเริ่มมีอาการติดพ่อแม่มากขึ้น เพราะสามารถจดจำหน้าตาและกลิ่นของพ่อแม่ได้ สามารถแก้ไขได้ดังนี้
- คุยกับลูกก่อนนอน เป็นวิธีที่สามารถใช้ได้ผล เพราะในช่วงนี้เขาจะมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์มากขึ้น จึงทำให้มีความระแวงว่าจะไม่มีใครอยู่ด้วย วิธีนี้จะช่วยให้ลดความหวาดระแวงของลูกได้
- ปลอบลูกให้สงบ หากพบว่าลูกน้อยมีอาการละเมอและร้องไห้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอุ้มหรือให้ลูกกินนมแต่อย่างใด เพียงแค่อยู่ข้าง ๆ เขาแล้วปลอบให้เขาสงบและรู้สึกปลอดภัย เขาก็รู้สึกอุ่นใจมากขึ้นได้
- หากลูกละเมอตื่นขึ้นมาแล้วร้องไห้ไม่หยุด ควรทำนอกจากการปลอบลูกแล้ว ก็คือการกล่อมลูก เพราะในขณะนั้นลูกจะรู้สึกตกใจและหวาดระแวงไม่น้อย ควรกล่อมลูกจนกว่าลูกจะหลับ เพื่อให้ไม่สะดุ้งตื่นขึ้นมาอีกครั้ง
ลูก6เดือน ตื่นบ่อยตอนกลางคืน ไม่ยอมนอน สาเหตุเกิดจากอะไร ควรทำอย่างไร?
สาเหตุที่ ลูก6เดือน ตื่นบ่อยตอนกลางคืน ไม่ยอมนอน อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความหิว การนอนตอนกลางวันมากเกินไป ความเครียด การเจ็บป่วย และอื่น ๆ ซึ่งสามารถรับมือได้ดังนี้
- การที่ลูกตื่นบ่อย ๆ ในตอนกลางคืนอาจเกิดจากความหิว หากลูกตื่นบ่อยในช่วงกลางคืนแล้วไม่ยอมหลับยอมนอน คุณแม่ควรให้ลูกกินนมพร้อมกับร้องเพลงกล่อมไปด้วย เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกเคลิ้มและพร้อมนอนหลับ
- ทำให้ลูกผ่อนคลาย เพราะการที่ลูกน้อยตื่นบ่อยในตอนกลางคืนสามารถเกิดจากความรู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกอึดอัด ทำให้ลูกผ่อนคลายได้โดยการอุ้มแล้วเดินไปรอบ ๆ บ้าน เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- ลูกน้อยตื่นบ่อยในตอนกลางคืน อาจเกิดจากที่ลูกนอนในตอนกลางวันมากเกินไป ควรปรับเวลาการนอนให้ลูกอย่างเหมาะสม โดยนอนกลางวันแค่ 3-4 ชั่วโมง และนอนกลางคืนให้ได้ 10-11 ชั่วโมง
ลูก6เดือน ท้องเสีย จะรับมือยังไงดี?
หาก ลูก6เดือน ท้องเสีย มีอาการขับถ่ายมากกว่าปกติและอุจจาระมีสภาพเหลวผิดปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่ามีอาการท้องเสีย แต่เนื่องจากอาการท้องเสียเป็นการขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย จึงไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสีย แต่สามารถบรรเทาอาการให้ลูกได้ดังนี้
- ควรงดรับประทานของหวานก่อน เพราะลูกน้อยบางคนยังต้องกินนมแม่อยู่ ซึ่งน้ำตาลจากของหวานอาจทำให้อาการท้องเสียของทารกแย่ลงกว่าเดิมได้
- อาการท้องเสียมักทำให้ลูกน้อยสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ในร่างกายไปพอสมควร ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมา ควรให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ แต่ในกรณีที่ลูกน้อยไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยก็ให้ดื่มนมแม่ตามปกติได้
- เปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำเมื่อลูกน้อยมีอาการท้องเสีย เพราะนอกจากจะช่วยลดการอับชื้นแล้ว ยังช่วยลดอาการก้นแดงจากการท้องเสียอยู่บ่อยครั้งได้ด้วย
ทารก6เดือน ถ่ายกี่ครั้ง ?
เด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายยังควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ จึงส่งผลให้ความถี่ในการขับถ่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติและไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะเด็กแต่ละคนจะขับถ่ายมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเข้าสู่ช่วงพัฒนาการเด็ก 6 เดือน ลูกน้อยจะถ่ายประมาณ 2-5 ครั้ง/วัน
ทารก6เดือน น้ำหนัก ควรไม่ต่ำกว่ากี่กิโล?
สำหรับทารกในวัย 6 เดือน น้ำหนักที่เหมาะสมกับวัยก็คือ เพศชายไม่ควรต่ำกว่า 6.30 กิโลกรัม เพศหญิงไม่ควรต่ำกว่า 5.80 กิโลกรัม หากพบว่ามีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ให้หาสาเหตุหรือควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาและเพิ่มน้ำหนัก
ลูก6เดือน น้ำหนักน้อย ไม่ขึ้น ควรเพิ่มยังไงดี?
ทารก 6 เดือนจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แตกต่างกัน ซึ่งหาก ลูก6เดือน น้ำหนักน้อย กว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจไม่ได้บ่งบอกว่ามีความผิดปกติเสมอไป แต่อาจเกิดจากการเลี้ยงดูหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้มีน้ำหนักน้อย หรือน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้ แต่อย่างไรก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- เพิ่มมื้อนม โดยให้ลูกกินนมบ่อยขึ้น ไม่ต้องจำกัดเวลา ให้กินวันละ 8-10 มื้อ หากลูกอยู่ไม่นิ่งก็ควรหาที่สงบและให้นมลูก แนะนำให้ลูกดูดเต้าละนาน ๆ เพื่อให้ได้นมส่วนหลัง เพราะมีไขมันสูงกว่านมส่วนหน้า
- การกินนมเพียงอย่างเดียวอาจช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกได้ไม่มาก เพราะฉะนั้นควรใช้อาหารเสริมเป็นตัวช่วยในการเพิ่มน้ำหนัก โดยให้ลูกกินอาหารเสริมวันละ 1 มื้อ และลดมื้อนมลงเพื่อให้ลูกกินอาหารเสริมได้มากขึ้น
- เพิ่มน้ำมันพืชลงในมื้ออาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เป็นต้น ใส่น้ำมันพืชลงไปในอาหาร 1-2 ช้อนชา แล้วป้อนให้ลูกกิน ซึ่งในน้ำมันพืชจะมีวิตามิน โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 มีส่วนช่วยให้เพิ่มน้ำหนักได้
เมนูเพิ่มน้ําหนักลูก 6 เดือน ที่ควรรับประทาน
เมื่อเข้าสู่ช่วงพัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกน้อยจะต้องการอาหารเสริมมากกว่านมแม่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรให้ลูกรับประทานอาหารเสริม 2-3 ช้อน วันละ 4 ครั้ง สำหรับ เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 6 เดือน ที่อยากแนะนำมีดังนี้
- ข้าวบดผสมน้ำซุป เป็นอาหารเสริมที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าทารกสามารถทานได้ จะช่วยเสริมโภชนาการให้กับทารก 6 เดือนได้เป็นอย่างดี หรือใครอยากจะบดข้าวแล้วผสมกับน้ำนมแม่ หรือน้ำนมผสมก็ได้เช่นกัน
- ข้าวโอ๊ตบด ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมที่ทารก 6 เดือนทานได้ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการได้ดี หรือจะทำเป็นเมนูข้าวโอ๊ตตุ๋นผักรวมก็ได้เช่นกัน รับประกันว่าเมนูนี้จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
- ตับบด เป็นเมนูที่ทำง่าย แต่ให้สารอาหารหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินชนิดต่าง ๆ และยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทารก 6 เดือนได้เป็นอย่างดี
แต่ก่อนให้ลูกทานควรที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งด้วย
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก6เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำ เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก6เดือน
ทารก6เดือนกินน้ํากี่ออน ? จึงจะเหมาะสมกับวัย
เด็กทารก 6 เดือนขึ้นไป นั้นสามารถเริ่มให้ดื่มน้ำได้แล้ว โดยใน 1 วัน ควรให้กินน้ำและนมรวมกันให้ได้ประมาณ 24-30 ออนซ์ หรือหลังจากป้อนอาหารเสริมเสร็จแล้ว สามารถป้อนน้ำเปล่าตามได้ 2-3 ออนซ์ ในมื้ออาหาร
การนอนของ ทารก6เดือน นอนกี่ชม. ถึงดีต่อการ ส่งเสริม พัฒนาการลูกน้อย?
เรื่องของการนอนหลับนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับทารกวัย 6 เดือน ควรจะนอนให้ได้ประมาณวันละ 12-16 ชั่วโมง โดยแบ่งการนอนในตอนกลางวัน 3-4 ชั่วโมง และนอนในตอนกลางคืนอีก 10-11 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอและดีต่อการส่งเสริมพัฒนาการ
ทารก6เดือน ไม่ยอมกินข้าว ควรรับมือยังไงดี?
เมื่อทารกมีอายุครบ 6 เดือน ถือเป็นช่วงที่พ่อแม่ควรเริ่มให้ลูกน้อยทานอาหารเสริมได้แล้ว เพราะเด็กวัยนี้จะต้องการสารอาหารจากแหล่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากน้ำนม สามารถนำข้าว เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้มาบดให้ลูกทานได้ แต่ถ้าหากลูกไม่ยอมกินข้าวสามารถแก้ไขด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- ค่อย ๆ ป้อนอาหารทีละเล็กละน้อย ในกรณีที่เพิ่งหัดให้ลูกกินข้าว ในช่วงแรกอาจยังไม่คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่ แนะนำให้ค่อย ๆ ป้อน ไม่ต้องฝืนลูกมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้กินข้าวได้ยากกว่าเดิม
- นำข้าวบดละเอียดผสมกับน้ำนม วิธีนี้ก็สามารถใช้ได้ผลเช่นกัน เพื่อให้เขารู้สึกว่าการกินข้าวไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งถ้าหากใช้วิธีนี้แล้วได้ผล เมื่อลูกคุ้นเคยกับการกินข้าวบดแล้ว ครั้งต่อไปเขาก็จะกินข้าวได้ง่ายขึ้น
- สังเกตอารมณ์ก่อนป้อนข้าว ถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะการที่ลูกจะกินข้าวหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับอารมณ์ในขณะนั้นด้วย ถ้าลูกน้อยยังงอแงอยู่ก็อาจต้องหยุดป้อนข้าวไปก่อน
ลูก6เดือน อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้นรึเปล่า?
ทารก6เดือน เมื่อมีอาการอยู่ไม่นิ่งนั้น อาจจะไม่ได้เกิดจากสมาธิสั้นเสมอไป เพราะเด็กแต่ละคนจะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจจะมีเรี่ยวแรงมากเป็นพิเศษจนทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ไม่นาน หากลูกมีพฤติกรรมแปลก ๆ จนทำให้พ่อแม่สงสัย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าสมาธิสั้นหรือเปล่า
สรุป
คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับ และสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับลูก เพราะเริ่มมี พัฒนาการทารกวัย 6 เดือน ในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเหมาะต่อการฝึกให้เรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ หากพ่อแม่คนใดที่เตรียมความพร้อมก่อนล่วงหน้าก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
แหล่งที่มา : tatteestory , mamstory , synphaett