พัฒนาการ เด็ก 8 เดือน เป็นช่วงที่พ่อแม่ของทารกต้องเอาใจใส่ รอบรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น การกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยวัยแปดเดือน ของเล่นเลือกยังไง อาหารกินอะไรได้บ้าง กินข้าวกี่มื้อ เมนูอาหารเพิ่มน้ําหนักเมื่อน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ วิธีรับมือเมื่อลูกยังไม่นั่งหรือเอาแต่ใจ และอื่น ๆ อีกมากมายที่เราต้องรู้เพื่อให้เท่าทันถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเขา ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงหัวข้อเหล่านี้กัน
รอบรู้เรื่อง พัฒนาการ เด็ก 8 เดือน ที่คุณแม่ต้องรู้
รอบรู้เรื่องพัฒนาการเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของทารกวัย 8 เดือน เพราะทารกในวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่กำลังเติบโต และเริ่มที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ในท้องแม่ที่เขาเคยอยู่อาจทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย หรือไม่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการเติบโตให้กับเขา ทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านสติปัญญา และทางด้านความรู้สึกของเขาให้สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรงในทุกด้าน
พัฒนาการทารกเดือนที่ 8 ด้านร่างกาย
เด็กควรจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม กระดูกแขนและขาต้องสามารถยืดหยุ่นรองรับน้ำหนักตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ในระดับหนึ่ง และในทารกบางคนอาจจะเริ่มมีฟันขึ้นแล้ว
ดังนั้นการเตรียมนมหรืออาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนผสมจะช่วยให้กระดูกและฟันของเขาแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
พัฒนาการของเด็ก8เดือน ด้านสังคม
เด็กจะเริ่มจดจำเสียงที่ได้ยินและสิ่งที่ได้เห็น และเริ่มที่จะมองตามเสียงหรือสิ่งของต่างๆ เหล่านั้น
ดังนั้นการพาเขาออกจากบ้าน หรือพาไปในที่ที่คนพลุกพล่านจะช่วยลดอาการตกใจหรือกลัวคนแปลกหน้าให้เขาได้ แถมยังช่วยให้เขาเรียนรู้การพบเจอผู้คนใหม่ๆ และสามารถเข้ากับคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น
ทารก8เดือน พัฒนาการ ด้านอารมณ์ จิตใจ
ทารกในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้การแสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์ของคนรอบตัว เช่น
- การหัวเราะเมื่อดีใจหรือถูกใจ
- การร้องไห้เมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือตกใจ
- การส่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้เขาเห็น หรือการพูดจาเสียงดังจนทำให้เขาตกใจเพื่อไม่ให้เขามีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และควรเล่นกับเขาด้วยน้ำเสียงสบายๆ ไม่เข้มงวด เพื่อทำให้เขาอารมณ์ดีและมีสุขภาพจิตที่ดี
พัฒนาการลูกน้อยวัย8เดือน ด้านภาษา
ลูกในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจภาษาที่เราสื่อสารกับเขาแล้ว ทั้งทางภาษาพูดและทางภาษากาย หากเราพูดคำสั้น ๆ และทำท่าทางประกอบง่าย ๆ กับเขา จะทำให้เขาเรียนรู้และเข้าใจภาษาที่เรากำลังสื่อสารออกไป เช่น พูดคำว่า ”ให้” แล้วส่งของให้เขา หรือพูดคำว่า ”ขอ” แล้วแบมือรอรับของจากเขา
เด็กในวัยนี้ก็จะเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมและคำพูดของเราก่อนจะเริ่มทำตาม ดังนั้นการพูดคุยและแสดงท่าทางกับเขาบ่อยๆ จะช่วยให้เขาสื่อสารและเข้าใจภาษาได้ไวยิ่งขึ้น
พัฒนาการเด็กแปดเดือน ด้านสมอง
เด็กจะเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น สังเกตจากการลุกนั่งด้วยตัวเอง การคลาน หรือการหยิบจับสิ่งของ
เด็กในวัยนี้จะชอบหยิบของแล้วปล่อยให้ตกลงช้าๆ ซึ่งนั้นเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งของเขา ไม่ใช่ความผิดปกติทางด้านกล้ามเนื้อหรือสมองแต่อย่างใด
เราควรเสริมพัฒนาการให้เขาด้วยการหาของเล่นที่มีเสียงและเคลื่อนไหวได้เพื่อช่วยให้เขาเรียนรู้การเคลื่อนไหวและการมองตามสิ่งของต่างๆ รอบตัว
พัฒนาการเด็กวัย8เดือน ด้านอาหารและโภชนาการ
เราควรเริ่มให้เด็กทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่และนมผงได้แล้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
เนื่องจากทารกในวัยนี้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่รวดเร็วมาก พลังงานและสารอาหารในเนื้อสัตว์จึงจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเขาเป็นอย่างมาก รวมถึงใยอาหารจากพืชผักก็มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายของเขาทำงานได้อย่างสมดุลยิ่งขึ้น
การกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทารก8เดือน ควรทำยังไง?
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กทารก8เดือน ทำได้โดยการพูดคุยสื่อสารกับเขา เพื่อกระตุ้นให้เขาเข้าใจภาษาและการสื่อสารทางอารมณ์ และการพาเขาออกไปเที่ยวนอกบ้านก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคมให้กับเขาได้อีกด้วย
นอกจากนี้การให้เขาเล่นของเล่นสำหรับเด็กก็สามารถช่วยกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการให้เขาได้เช่นกัน
25 ของเล่นเด็ก 8 เดือน ชนิดไหนดีต่อพัฒนาการลูกน้อย?
ของเล่นเด็ก 8 เดือน ที่สามารถช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยให้เป็นไปอย่างสมวัยนั้น ควรเลือกของเล่นที่ไม่มีเหลี่ยมมุมที่คมหรือแข็งจนเกินไป และเป็นของเล่นที่มีเสียงหรือมีสีสันสดใสสะดุดตา ที่สำคัญต้องเป็นของที่ไม่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากเกินไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอันตรายจากความซุกซนของเขาได้ ซึ่งของเล่นที่จะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก มีดังต่อไปนี้
- ตุ๊กตาถุงนิ้วถุงมือ
- ตุ๊กตาที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่าตัวของเขา
- หนังสือภาพที่ทำจากผ้าผ้าหรือนิทานลอยน้ำที่มีสีสันสดใส
- หนังสือนิทานพูดได้
- การภาพสีสันสดใส
- บล็อกจับคู่ที่เป็นรูปสิ่งต่างๆ
- บล็อกตัวต่อรูปเลขาคณิต
- บล็อกยางรูปสัตว์
- บล็อกตัวต่อแบบนิ่ม
- กล่องจ๊ะเอ๋ที่เปิด-ปิดแล้วของจะหายไป
- กล่องเปิด-ปิดที่มีตัวการ์ตูนอยู่ด้านในเมื่อเปิดแล้วจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
- ตุ๊กตายางที่บีบแล้วมีเสียง
- รถเข็นสามขา
- รถเข็นเดินตาม
- สายจูงสัตว์เลี้ยงไขลาน
- ตุ๊กตาไขลาน
- ตุ๊กตาปีนบันไดไฟฟ้า
- โมบายแขวนแบบหมุนได้และมีเสียง
- แทมบูรีนไม้
- เปียโนเด็กที่กดแล้วมีเสียง
- ไซโลโฟนที่มีหลายตัวโน๊ต
- โทรศัพท์เด็กเล่นที่กดแล้วมีเสียง
- กรุ๊งกริ๊งเขย่ามือ
- สไลด์เดอร์ลูกบอล
- ยางกัดรูปแบบต่างๆ
อาหาร ลูก 8 เดือน กินอะไรได้บ้าง ?
นอกจากนมแม่และนมผงแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า อาหาร ลูก 8 เดือน กินอะไรได้บ้าง เพราะเด็กควรได้รับอาหารเสริมอื่น ๆ ได้แล้ว
ซึ่งคุณแม่สามารถเสริมเป็นข้าวสวยบดละเอียด หรือบดพอหยาบเพื่อช่วยฝึกพัฒนาการการบดเคี้ยว รวมถึงอาหารบางอย่างที่เขาสามารถหยิบทานเองได้ ก็จะช่วยเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กที่มือและนิ้วของเขาให้เกิดการยืดหดได้อย่างสมดุล
รวมไปถึงเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองในส่วนของการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้คล่องขึ้นได้อีกด้วย อาหารที่เด็กทานได้ มีดังนี้
- ข้าวสวยบดหยาบ
- ขนมปัง
- เนื้อสัตว์สับหรือบดพอหยาบ
- เนื้อปลาปรุงสุกสับละเอียด
- ไส้กรอกหรือลูกชิ้น
- ไข่ต้ม
- ไข่ตุ๋นท็อปปิ้งผักสับหรือเนื้อสัตว์สับละเอียด
- เต้าหู้ไข่หรือเต้าหู้จากถั่วเหลือง
- ผักใบเขียวที่สามารถทานสดได้และมีกลิ่นไม่ฉุนเกินไป
- แครอทต้มหรือนึ่งจนสุก
- ฝักทองนึ่งแบบปลอกเปลือก
- ถั่วฝักยาวต้มสุก
- ผักกาดขาวนึ่งสุก
- แตงกวา
- มันฝรั่งบด/ทอด
- มะละกอสุก
- ส้ม
- มะม่วงสุก
- กล้วยน้ำหว้าหรือกล้วยหอมสุก
- น้ำลูกพรุน
- น้ำส้มคั้น
- ชีส ควรแบ่งให้ทานอย่างพอดีและสังเกตอาการที่อาจจะเกิดจากการที่เด็กแพ้นมวัวได้
ลูก 8 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ?
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจให้อาหารอื่น ๆ นอกจากนมแล้ว ก็จะสงสัยว่า ลูก 8 เดือน กินข้าวกี่มื้อ ถึงจะดีกันแน่
ซึ่งโดยหลักการแล้ว เด็กควรกินข้าวสองมื้อต่อวัน เป็นอาหารที่เสริมจากนมแม่ที่เขาทานเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว และอาหารสองมื้อนั้นควรห่างกันอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นระบบย่อยอาหารของเขาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มื้ออาหารของทารกสามารถแบ่งตามคำแนะนำของนักโภชนาการได้ ดังนี้
อาหารมื้อเช้า
- ข้าวสวยบดหยาบ 4 ช้อนทานข้าว
- เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาบดละเอียด 1 ช้อน
- ไข่ต้มครึ่งฟอง
- ผักต้มสุกสับละเอียด 1 ช้อน
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
มื้อเช้าเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูชีสง่ายๆ ในปริมาณ 4 ช้อนทานข้าว เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักและเพิ่มความหลากหลายทางรสชาติอาหารให้กับเขา
อาหารมื้อบ่าย
- ผลไม้หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 3 ชิ้น
- น้ำส้ม/น้ำลูกพรุนปริมาณ 2 ออนซ์
สิ่งสำคัญ คือ เราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดเพื่อช่วยให้เขาทานอาหารได้ง่ายขึ้น
และในส่วนของผักบางอย่างที่มีกลิ่นแต่ไม่ฉุนจนเกินไป เราสามารถฝึกให้เขาเริ่มทานผักเหล่านี้ได้ เช่น ผักชี ต้นหอม เป็นต้น
อาหารเพิ่มน้ําหนักลูก8เดือน เมื่อต่ำกว่าเกณฑ์
อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก 8 เดือน สามารถเสริมโดยการให้เขาทานอาหารที่มีแป้งและให้พลังงานสูง เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักของเขาให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็นได้
นอกจากนี้การทานอาหารที่มีประโยชน์และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ยังมีส่วนช่วยให้การเจริญเติบโตของร่างกายของเขาเป็นไปอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย อาหารที่จะช่วยเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อยให้เป็นไปตามเกณฑ์ มีดังต่อไปนี้
- กล้วยหอม
- องุ่น
- อโวคาโด
- ถั่วต่างๆ
- ผักที่มีแป้ง
- เนื้อปลาที่มีไขมันสูง
- ไข่/เต้าหู้ไข่
- นมที่มีไขมันครบถ้วน
- เนย
- ชีส
- กะทิ
- น้ำมันพืช
ทารก8เดือน น้ำหนัก ตามเกณฑ์ควรเป็นเท่าไร?
ทารก 8 เดือนน้ำหนักตามเกณฑ์ควรจะอยู่ที่ 8-9 กิโลกรัม แต่หากลูกมีน้ำหนักต่ำกว่านี้ก็ไม่ต้องตกใจไป สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กบางคน
เมื่อทานอาหารเสริมต่างๆ เข้าไปก็จะสามารถเพิ่มน้ำหนักของลูกน้อยให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้เอง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราควรใส่ใจในปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ควรให้เขาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และควรดูแลสุขอนามัยของเขาให้ดี เท่านี้ลูกน้อยก็สามารถเติบโตได้อย่างสมวัยแล้ว
ลูก8เดือน ยังไม่นั่ง ปกติไหม? ทำยังไงดี?
ลูก8เดือน ยังไม่นั่ง ไม่ใช่ความผิดปกติของพัฒนาการแต่อย่างใด เพราะในเด็กบางคนอาจจะข้ามขั้นจากการลุกนั่งเองเป็นการเริ่มเกาะยืนและหัดเดินได้เลยเช่นกัน
เราสามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านการลุกนั่งของเขาได้จากการช่วยจับเขานั่งก่อนในตอนแรก จากนั้นปล่อยให้เขาทรงตัวด้วยตัวเอง เด็กจะเริ่มคุ้นชินและสามารถลุกนั่งได้เองในที่สุด
นอกจากนี้เราสามารถใช้ของเล่นแบบกล่องนั่งเล่นในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการลุกนั่งของเขาให้สามารถนั่งด้วยตัวเองได้อีกด้วย
หากคุณต้องการดูเนื้อหาการแก้ปัญหาในเด็ก 8 เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : คู่มือแก้ปัญหาจาก พัฒนาการ ทารก 8 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่!!
ลูก8เดือน เอาแต่ใจ รับมือยังไงดี?
ลูก 8 เดือนเอาแต่ใจ รับมือได้ไม่ยาก ซึ่งสิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำ คือ ต้องใจเย็นๆ กับเขาก่อน สังเกตว่าที่เขาร้องโวยวายเกิดจากสาเหตุใด
หากเขาอยากได้สิ่งของแล้วโวยวายให้เราพูดกับเขาด้วยคำสั้น ๆ ที่เข้าใจง่ายเช่น “ไม่”, “อย่า”, “หยุด” ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล แม้เขาจะตอบโต้เราไม่ได้แต่พฤติกรรมของเราจะช่วยให้เขาสงบลงได้
จากนั้นนำของที่เขาต้องการมาให้เขาโดยเพิ่มตัวเลือกเข้าไปเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเขาให้รู้จักการตัดสินใจ
เมนู อาหารทารก 8 เดือน
เมนู อาหารทารก 8 เดือน ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัดจ้านเกินไป เนื้อสัตว์ต้องปรุงสุกเท่านั้น และการบดอาหารพอหยาบ จะช่วยเสริมพัฒนาการด้านการเคี้ยวอาหารของเขาไปด้วย
ในช่วงวัยนี้การฝึกให้เขาทานผักเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยป้องกันปัญหาลูกทานผักยากในอนาคต ซึ่งเมนูอาหารที่แนะนำสำหรับทารก มีดังต่อไปนี้
1. ไข่ตุ๋นฟักทองออนท็อปปูอัด
วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
- ไข่ไก่
- น้ำเปล่า
- ฟักทองปอกเปลือกบดละเอียด
- ปูอัดฉีกเป็นเส้น
- แครอทหั่นเต๋าชิ้นเล็กจิ๋ว
- ต้นหอมซอย
วิธีทำง่ายๆ ด้วยการนำวัตถุดิบทุกอย่างใส่รวมกัน จากนั้นนำไข่ที่ผสมแล้วขึ้นเตาตุ๋นจนสุก เท่านี้ก็ได้ไข่ตุ๋นสุดอร่อยให้ลูกน้อยทานแล้ว
2. โทสต์ไข่ลาวาแฮมชีส
วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
- ไข่ไก่
- ขนมปังแผ่นแบบหนา
- ชีสแผ่น
- แฮม
- ออริกาโน
วิธีทำ
- เจาะขนมปังให้เป็นรูตรงกลาง
- นำไข่ไก่ตอกใส่รูขนมปังที่เตรียมไว้
- ตามด้วยแฮมแล้วปิดด้วยชีสโรยออริกาโนเล็กน้อย
- นำเข้าเตาอบที่ไฟปานกลางตั้งเวลาที่ 8 นาที
แค่นี้ก็จะได้โทสต์ไข่ลาวาแสนอร่อยแล้ว
3. ซุปเกี๊ยวน้ำใส
วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
- แผ่นเกี๊ยว
- หมูบดหรือหมูสับ
- แครอท
- ผักกาดขาว
- ต้นหอมซอย
วิธีทำ
- เริ่มจากการเตรียมไส้เกี๊ยวก่อน
- โดยการนำเนื้อหมูบดมาปั่นรวมกับแครอทปรุงรสชาติพอเหมาะ
- จากนั้นตั้งเตาเตรียมน้ำซุปแล้วใส่ผักกาดขาวกับแครอทหั่นบางๆ ลงไป
- จากนั้นนำเนื้อหมูมาห่อด้วยแผ่นเกี๊ยวแล้วต้มลงในน้ำซุปที่เตรียมไว้
- รอจนเดือดปิดเตาแล้วใส่หอมซอยลงไป
เท่านี้ก็ได้เกี๊ยวน้ำที่มีทั้งผักและเนื้อให้ลูกน้อยทานแล้ว
ปล. ในเมนูนี้สามารถเปลี่ยนจากเนื้อหมูเป็นเนื้อกุ้งสับแทนได้เช่นกัน
หากคุณต้องการดูเนื้อหาหัวข้อ เมนู อาหารเด็ก 8 เดือน เพื่อเตรียมอาหารให้ลูก8เดือน อย่างละเอียด
คุณสามารถ Click เข้าไปดูได้ที่ : แนะนำเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน กินอะไรได้บ้างและไม่ควรกิน?
สรุป
ทารก 8 เดือนเป็นช่วงวัยที่อารมณ์ของเขาค่อนข้างจะแปรปรวนเป็นอย่างมาก เราจึงควรรับมือกับอาการกรีดร้องหรือโวยวายของเขาให้ดี ควรสื่อสารกับเขาด้วยความใจเย็น เพราะพัฒนาการของเด็ก คือ การจดจำพฤติกรรมและเรียนรู้การสื่อสารทั้งทางอารมณ์และคำพูด ดังนั้นเราจึงควรเป็นตัวอย่างทางการสื่อสารที่ดีให้กับเขา ในส่วนของพัฒนาการทางด้านร่างกายก็ต้องใส่ใจเรื่องโภชนาการของเขาเป็นหลัก เพราะสารอาหารที่ครบถ้วนเป็นพื้นฐานที่ดีในการเจริญเติบโตของร่างกาย
แหล่งที่มา : phinkidtoys , kaoleklek